ชีวประวัติของพระสันตะปาปายอห์นที่ 23
นครรัฐวาติกัน, 26 เมษายน 2014 ( VIS ) - .


พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ทรงถือกำเนิดเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน 1881
อันเยโล ยูเซปเป รอนคาลลี (Angelo Giuseppe Roncalli) ถือกำเนิดที่หมู่บ้านซอตโต อิล มอนเต ประเทศอิตาลี (Angelo Giuseppe Roncall) ในสังฆมณฑลเบอร์กาโม (Diocese of Bergam). พระองค์ทรงเป็นบุตรชายคนแรก ลำดับที่ 4 ในพี่น้องทั้งหมด 14 คน. บิดาชื่อ โจวันนี แบตติสตา รอนคาลลี มารดาชื่อมาเรีย แอนนา รอนคาลลี เป็นเกษตรกรที่เช่าที่นาจากขุนนาง เป็นครอบครัวที่ฝ่ายชายเป็นใหญ่ หมายถึง คุณลุงซาเวริโอพี่ชายของบิดาอยู่ในบ้านเดียวกันกับครอบครัวของพระองค์ คุณลุงเป็นโสดและใช้ความฉลาดบริหารงานและเรื่องอื่นๆของครอบครัว. ซาเวริโอเป็นพ่ออุปถัมภ์ของอันเยโล และให้การศึกษาด้านศาสนาแก่อันเยโลเป็นคนแรก  ครอบครัวมีบรรยากาศด้านศาสนาและมีความกระตือรือร้นในชุมชนวัด คุณพ่อฟรานเชสโก  รีบูสซินี  ชี้แนะฝึกอบรมชีวิตคริสตชนแก่อันเยโล
       พระองค์สมัครเข้าบ้านเณรเบอร์กาโม ในปี 1892 ที่นี่พระองค์เริ่มบันทึกชีวิตจิตซึ่งพระองค์ยังคงอยู่ในรูปแบบเดียวหรือรูปแบบอื่นจนสวรรคต,และมีการรวบรวมใน "วารสารของวิญญาณ". ที่นี่ พระองค์ก็เริ่มปฏิบัติอย่างมุ่งมั่นในการแนะแนวชีวิตฝ่ายจิต. ในปี 1896 คุณพ่อ ลุยจี อิซาคี ผู้อำนวยการคณะฟรานซิสกันให้พระองค์สำหรับฆราวาสยอมรับพระองค์เข้าสามเณราลัยเบอร์กาโม, พระองค์ปฏิญาณจะถือวินัยของคณะเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1897
      ระหว่างปี 1901-1905 พระองค์ทรงเป็นนักศึกษาที่สามเณราลัยสันตะสำนักโรมัน. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 1904 พระองค์ทรงรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ที่วัดซานตา มาเรียในเปียซา เดล โปโปโล  กรุงโรม.
     ในปี 1905 พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการของพระสังฆราชมอนซิญอร์เคาน์ จาโคฮม ราดินี เตเดสกีที่เพิ่งได้รับตำแหน่งเลขาธิการรัฐวาติกัน. พระองค์พร้อมกับพระสังฆราชไปเยี่ยมสัตบุรุษและร่วมงานกับท่านในงานริเริ่มหลายประการ เช่น สมัชชาพระสังฆราช ที่จัดทำสารสังฆมณฑล,การจาริกแสวงบุญ งานสังคม. พระองค์ทรงสอนวิชาปกป้องความเชื่อในศาสนาคริสต์. พระองค์ทรงเป็นนักเทศน์ยอดนิยมที่มีประสิทธิภาพ สง่างามที่ลึกซึ้ง.
          หลายปี พระองค์ประทับใจนักบุญที่เป็นผู้อภิบาลที่มีชีวิตจิตลึกซึ้ง 2 ท่าน ได้แก่ นักบุญชาร์ลส์ บอร์โรมีโอและนักบุญฟรานซิส เดอ ซาลส์. หลายปีที่ผ่านมา  พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในงานอภิบาลกับการฝึกงานอย่างมาก,ขณะที่ทำงานใกล้ชิดกับพระสังฆราชราดินี เดเดสคี “ของพระองค์”ทุกวัน. เมื่อพระสังฆราชสิ้นใจใน ปี 1914, คุณพ่อแอนเยโลยังคงสอนนักศึกษาในสามเณราลัยและทำศาสนบริกรในงานอภิบาลด้านต่างๆ
     
        เมื่อประเทศอิตาลีเข้าร่วมสงครามใน ค.ศ 1915 คุณพ่อรอนคาลลีได้เป็นอนุศาสนจารย์กองทหาร . เมื่อสงครามสงบ พระองค์ทรงเปิด “บ้านนักศึกษา" สำหรับความต้องการฝ่ายจิตวิญญาณของคนหนุ่มสาว.
         ใน ปี 1919  พระองค์ทรงเป็น ผู้อำนวยการฝ่ายวิญญาณรักษ์ของสามเณราลัย
         ใน ปี 1921 พระองค์ถูกเรียกตัวไปทำงานให้สันตะสำนัก. พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ทรงนำคุณพ่อรอนคาลลีไปโรมเพื่อรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการองค์กรเผยแผ่ความเชื่อในประเทศอิตาลี
        ในปี 1925 พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ทรงแต่งตั้งให้คุณพ่อรอนคาลลีเป็นผู้แทนพระองค์ในการเยือนประเทศบัลกาเรีย     เพื่อแต่งตั้งพระองค์ให้รับสมณศักดิ์พระสังฆราชเพื่อปกครองสังฆมณฑลอารีโอโพลีส. คติประจำใจของพระอัครสังฆราชผู้นี้คือ “ความนบนอบและสันติภาพ” ซึ่งเป็นคติชี้นำตลอดชีวิตของพระองค์.
         เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1925 พระองค์ได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราชและเดินทางไปบัลกาเรีย. พระองค์ปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนพระสันตะปาปาและยังคงอยู่ที่บัลกาเรียจนกระทั่งปี 1935, เสด็จเยี่ยมชุมชนคาทอลิกและสร้างสัมพันธภาพแห่งการเคารพและให้เกียรติกับชุมชนคริสตชนนิกายอื่นๆด้วย
          ด้วยเหตุนี้ในปี 1928 มีแผ่นดินไหวต่อต้านการเก็บตัวของพระองค์ในทุกแห่ง. พระองค์ทรงเพียรทนในความเงียบกับความเข้าใจผิดและความยากลำบากอื่นๆของศาสนบริการกับคนริมขอบของสังคม, และดังนั้น เพิ่มความสำนึกของความวางใจและปล่อยตัวเองต่อพระเยซูเจ้าถูกตรึงกางเขน
        ในปี 1935 พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาในประเทศตุรกีและประเทศกรีซ. ทรงเสนอพระศาสนจักรคาทอลิกต่อเยาวชนตุรกีหลายวิธีด้วยกัน.พระองค์ทำศาสนบริการกับคาทอลิกอย่างจริงจัง, การเข้าถึงโลกของนิกายออร์โธดอกส์และอิสลามด้วยความเคารพและการทำเสวนา ที่กลายเป็นลักษณะเด่นของพระองค์.
       สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นขณะที่พระองค์ประทับอยู่ในประเทศกรีซ. พระองค์พยายามที่จะได้ส่งข่าวจากเชลยศึกถึงครอบครัวของพวกเขาและช่วยเหลือชาวยิวหลายคนให้หลบหนี โดยการออก " “วีซ่าผ่านแดน”จากผู้แทนพระสันตะปาปา. ในเดือนธันวาคม 1944 พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ทรงแต่งตั้งพระองค์เป็นเอกอัครสมณทูตรัฐวาติกันประจำประเทศฝรั่งเศส
          ในระหว่างเดือนสุดท้ายของสงครามและ จุดเริ่มต้นของสันติสุข   พระองค์ได้ทรงช่วยเหลือเชลยศึก และช่วยให้องค์กรของพระศาสนจักรในประเทศฝรั่งเศสเข้าสู่สภาวะปกติ. พระองค์เสด็จเยี่ยมสักการสถานหลายแห่งในประเทศฝรั่งเศส  และทรงมีส่วนร่วมในวันฉลองระดับชาติและในการฉลองทางศาสนาที่สำคัญ. พระองค์ทรงเป็นนักสังเกตการณ์ที่ใส่พระทัย, รอบคอบและในเชิงบวกของการริเริ่มงานอภิบาลใหม่ๆของพระสังฆราชและพระสงฆ์ของประเทศฝรั่งเศส. วิธีการของพระองค์มีลักษณะเด่นชัดด้วยการยืนหยัดความเรียบง่ายของพระวรสาร,แม้อยู่ในท่ามกลางปัญหาทางการทูตที่ซับซ้อน. ความเชื่อที่จริงใจของชีวิตภายในของพระองค์พบได้จากการแสดงออก ในแต่ละวัน พระองค์ทรงใช้เวลานานในการสวดภาวนาและการรำพึง.
          ในปี 1953  พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัลและส่งตัวไปเป็นพระอัยกาที่เวนิส. พระองค์ทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขเพราะจบด้วยการใส่ใจวิญญาณโดยตรง เพราะพระองค์ทรงปรารถนาจะเป็นพระสงฆ์. พระองค์ทรงเป็นผู้อภิบาลที่ชาญฉลาดและกล้าได้กล้าเสีย,ตามด้วยนักอภิบาลต้นแบบที่น่าเคารพและทรงดำเนินตามรอยนักบุญลอเรนซ์ ยูสตีนีอานี ซึ่งเป็นพระอัยกาแห่งเวนิสองค์แรก. ขณะที่พระองค์ทรงก้าวหน้าในการวางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้ามาหลายปี  ทรงจำเริญในท่ามกลางบรรดานักอภิบาลที่มีพลัง ร่าเริง กล้าได้กล้าเสีย
        เมื่อพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 สวรรคต พระอัยกาทรงได้รับคัดเลือกเป็นพระสันตะปาปาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 1958 ทรงใช้พระนามยอห์นที่ 23. พระสมณสมัยซึ่งยาวนานน้อยกว่า 5 ปี ทำให้โลกเห็นภาพของพระชุมพาแสนดี. ความน่ารักและสุภาพ กล้าได้กล้าเสียและกล้าหาญ, เรียบง่ายและกระตือรือร้น, พระองค์ทรงกระทำพันธกิจคริสตชนของงานเมตตาฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณ นั่นคือ การเยี่ยมนักโทษและผู้ป่วย,ต้อนรับชนทุกชาติ ทุกศาสนา,เอาใจใส่พวกเขาเยี่ยงบิดาที่น่าปลาบปลื้ม. อำนาจการสอนของพระศาสนจักรเรื่องสังคมของพระองค์ในสมณสาส์นสากล “สันติภาพ ณ แผ่นดิน” (Encyclicals Pacem in Terris) และ “มารดาและอาจารย์” (คริสตศาสนาและความก้าวหน้าทางสังคม-Mater et Magistra) ที่ซาบซึ้ง.
        พระองค์ทรงเรียกประชุมสมัชชาพระสังฆราชโรมัน ที่ก่อตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อทบทวนกฎระเบียบของกฎหมายพระศาสนจักรและเรียกประชุมสภาสังคายนาสากลวาติกันที่ 2. พระองค์ทรงร่วมประชุมในฐานะพระสังฆราชในสังฆมณฑลแห่งโรม. ทรงปฏิบัติหน้าที่นี้ด้วยการเสด็จเยี่ยมชุมชนวัดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อาศัยในชานเมือง
สัตบุรุษเห็นการไตร่ตรองเกี่ยวกับความดีของพระเจ้าในพระองค์ และถวายสมญานามพระองค์ว่า “พระสันตะปาปาแสนดี”. พระองค์ทรงดำรงอยู่ด้วยจิตตารมณ์ที่ลึกซึ้งแห่งการภาวนา. พระองค์ทรงลงมือฟื้นฟูพระศาสนจักรอย่างกว้างขวาง,ขณะที่แผ่สันติของบุคคลที่วางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้าเสมอ.
        พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 สวรรคตวันที่ 3 มิถุนายน 1963 ด้วยจิตตารมณ์ที่วางใจอย่างลึกซึ้งในพระเยซูเจ้าและรอคอยที่จะไปอยู่ในอ้อมพระกรของพระองค์
      พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2000 . วันฉลองตรงกับวันที่ 11 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเปิดการประชุมสภาสังคายนาสากลวาติกันที่สอง

        ในบทเทศน์ พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงประกาศถ้อยคำต่อไปนี้เกี่ยวกับผู้ที่พระองค์ทรงสืบตำแหน่งว่า
            “วันนี้ ให้เราพิศเพ่งพระสิริรุ่งโรจน์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าในพระสันตะปาปายอห์นที่ 23, พระองค์ทรงสร้างความประทับใจให้โลกด้วยท่าทีที่เป็นมิตรของพระองค์ ที่แผ่ความดีที่โดดเด่นของวิญญาณของพระองค์. อาศัยแผนการของพระเจ้าในการสถาปนาบุญราศีที่เชื่อมโยงพระสันตะปาปา 2 องค์ที่ทรงพระชนมชีพในบริบททางประวัติศาสตร์, นอกเหนือจากภาพปรากฏ, ร่วมแบ่งปันความคล้ายคลึงด้านมนุษย์และด้านจิตวิญญาณ.แสดงความเคารพอย่างลึกซึ้ง ที่พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ทรงมีต่อพระสันตะปาปาปีโอที่ 9, การแต่งตั้งบุญราศีเชิญชวนให้เรามองไปเบื้องหน้ายังบุคคลที่มีชื่อเสียง ระหว่างการฟื้นฟูจิตใจในปี 1959, พระองค์ทรงลิขิตในสมุดบันทึกประจำวันว่า “ข้าพเจ้ามักคิดถึงพระสันตะปาปาปีโอที่ 9  ด้วยความทรงจำที่รุ่งโรจน์และศักดิ์สิทธิ์ พร้อมด้วยการเลียนแบบพระองค์ในเรื่องความเสียสละของพระองค์,ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะฉลองการสถาปนาเป็นนักบุญของพระองค์” (Journal of a Soul, Ed. San Paolo, 2000, p. 560)”.
        
"ทุกคนคงจำใบหน้าที่แย้มพระสรวลของพระสันตะปาปายอห์นและแขนทั้งสองที่โอบกอดคนทั้งโลก. มีกี่คนที่ชนะด้วยดวงใจที่เรียบง่าย,ที่ถูกผูกรวมด้วยประสบการณ์เกี่ยวกับผู้คนและสิ่งต่างๆ.  ลมหายใจของความใหม่ที่พระองค์ทรงนำมาไม่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีอย่างแน่นอน, แต่เป็นวิธีที่จะอธิบายเรื่องนี้ นั่นคือ วิธีการตรัสและการแสดงออกเป็นเรื่องใหม่. เป็นจิตตารมณ์นี้ที่ทำให้พระองค์เรียกประชุมสภาสังคายนาสากลวาติกัน ด้วยเหตุนี้ เป็นการเปลี่ยนหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์พระศาสนจักร :
คริสตชนได้ยินตัวเอง ว่าได้รับเรียกให้ประกาศพระวรสารด้วยความกล้าหาญที่ได้รับการฟื้นฟู และความใส่ใจที่ดีต่อ “สัญญาณต่างๆ” ของกาลเวลา”.
            “สภาสังคายนาคือความหยั่งรู้เยี่ยงประกาศกแท้ของพระสันตะปาปาชราท่านนี้ ซึ่งเผชิญกับความยากลำบากหลากหลาย,ที่เปิดฤดูกาลแห่งความหวังสำหรับคริสตชนและเพื่อมนุษยชาติ”.
 “ในช่วงท้ายปลายชีวิตของพระองค์บนโลกนี้ พระองค์ทรงมอบมรดกแก่พระศาสนจักร ซึ่งเป็น “สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตคือพระเยซู
คริสตเจ้า พระศาสนจักรอันศักดิ์สิทธิ์ พระวรสารของพระองค์ ความจริงและความดี”
        เราด้วยที่ประสงค์ที่จะรับมรดกนี้ ขณะที่เราถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระองค์ ที่พระองค์ประทานพระสันตะปาปาองค์นี้ที่เป็นนายชุมพาแก่เรา”