พระนางมารีย์ในการเสวนาระหว่างศาสนาอิสลาม – ศาสนาคริสต์
นครรัฐวาติกัน , 26 มีนาคม 2014 ( VIS )
       "พระนางมารีย์ในการเสวนาระหว่างศาสนาอิสลาม – ศาสนาคริสต์” เป็นหัวเรื่องที่คุณพ่อ Miguel Angel Ayuso,เลขาธิการสภาสันตะสำนักเพื่อการเสวนาศาสนาสัมพันธ์, ระหว่างการประชุมครั้งที่ 8 เพื่ออธิษฐานภาวนาระหว่างศาสนาอิสลาม – ศาสนาคริสต์ ที่จัดขึ้นเมื่อวานนี้ในเบรุต,เลบานอน วันที่ 25 มีนาคม 2014 ซึ่งเป็นวันสมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ซึ่งฉลองร่วมกันระหว่างคริสตชนกับมุสลิม. เป็นโอกาสสำคัญและประกาศเป็นวันหยุดระดับชาติในรัฐบาลเลบานอนในปี 2010.

           ในสุนทรพจน์ซึ่งมุ่งเน้นทั้งรูปลักษณ์ของพระนางมารีย์และพันธกิจของสมณกระทรวงเพื่อศาสนาสัมพันธ์. คุณพ่อ Fr. Ayuso ย้ำว่า วันสมโภชวันที่  25 มีนาคม เป็น "ตัวอย่างที่แท้จริงของการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวมุสลิมและคริสตชนที่ทำให้ประวัติศาสตร์ของประเทศเลบานอนเด่นชัดขึ้น,  ในท่ามกลางความยุ่งยากมากมาย และที่ยังถือว่า เป็นตัวอย่างที่สำคัญสำหรับประเทศอื่น ๆ"
        "ตั้งแต่สภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่สอง พระศาสนจักรคาทอลิกตระหนักดีว่า ชาวมุสลิมถวายพระเกียรติแด่พระนางพรหมจารีย์มารีย์พระมารดาของพระเยซูเจ้า, พระนางมารีย์และการเรียกขานพระนางด้วยความศรัทธา. ... มีการกล่าวถึงพระนางมารีย์หลายครั้งในพระคัมภีร์อัลกุรอาน. การแสดงเคารพต่อพระนาง เห็นได้ชัดว่า เมื่อกล่าวถึงพระนางในศาสนาอิสลาม,  เป็นเรื่องปกติที่จะเพิ่ม ' Alayha  I - Salam ' (' สันติสุขจงมีแด่เธอ '.) คริสตชนยังเต็มใจที่จะเข้าร่วมภาวนานี้. ข้าพเจ้ายังต้องกล่าวถึงสักการสถานเหล่านั้นที่อุทิศแด่พระนางมารีย์  ซึ่งต้อนรับทั้งสองศาสนิก. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ที่นี่ ในเลบานอน, เราสามารถลืมสักการสถานแห่งพระแม่แห่งเลบานอน ใน Harissa อย่างไร? "
       "การอุทิศสร้างความรู้สึกเป็นมิตร : เป็น ปรากฏการณ์ที่เปิดให้ทุกคน.  ประสบการณ์ทางวัฒนธรรม ที่ชุมชนของเราสามารถร่วมมือกัน, ส่งเสริมกัน,ความเป็นปึกแผ่นและรับรู้ความเป็นบุตรร่วมกันของพระเจ้าเดียว. เป็นสมาชิกของครอบครัวมนุษย์เดียวกัน. ดังนั้น พระศาสนจักรกล่าวกับศาสนิกของศาสนาอิสลามด้วยความเคารพยิ่ง.  ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา มีการทำการเสวนาเยี่ยงมิตร และความเคารพซึ่งกัน"
        มีการอ้างอิงถึงการเสวนาระหว่างชาวมุสลิม และคริสตชน เขาอธิบายต่อไปว่า สันตะสภาเพื่อศาสนาสัมพันธ์ “พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์ปกติกับสถาบันและองค์กรมุสลิมต่างๆ ที่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมความเข้าใจร่วมกัน ความไว้วางใจ และมิตรภาพ  ตลอดจนความร่วมมือถ้าเป็นไปได้. ความจริงแล้ว  มีข้อตกลงกับสถาบันมุสลิมต่างๆ ที่จัดการประชุมเป็นระยะๆ ให้สอดคล้องกับโครงการและกระบวนการที่ได้รับการอนุมัติโดยทั้งสองฝ่าย. เกี่ยวกับวิธีการของการเสวนาระหว่างศาสนา และดังนั้น การเสวนาระหว่างคริสตชนกับชาวมุสลิม ที่เราจะต้องจำได้ว่า การเสวนาเป็นการสื่อสารแบบสองทาง... มันขึ้นอยู่กับพยานของความศรัทธาของตัวเอง และในเวลา เดียวกัน การเปิดกว้างต่อศาสนาอื่น ๆ . มันไม่ใช่การทรยศของพันธกิจของพระศาสนจักรและใช้วิธีการกลับใจแบบใหม่มานับถือศาสนาคริสต์.  เอกสารชื่อ 'การเสวนาและการประกาศพระวรสาร”' ตีพิมพ์ร่วมกันโดยสมณกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารสู่ปวงชนและสภาเพื่อการเสวนาศาสนาสัมพันธ์ในปี 1991,กำหนดรูปแบบการเสวนา 4 แบบ ได้แก่ การเสวนาแห่งชีวิต การเสวนาเรื่องงาน การเสวนาแห่งการแลกเปลี่ยนด้านเทววิทยาและการเสวนาของประสบการณ์ด้านศาสนา. ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้กำหนดประสบการณ์ตามรูปแบบทั้งสี่”.
       คุณพ่อ Ayuso  สรุปด้วยการวิเคราะห์บทบาทของพระนางมารีย์,เพื่อเข้าใจคำขวัญของวันหยุดประจำชาติในเลบานอน, “มารวมตัวกันรอบพระมารดามารีย์” “ในพระสมณสาส์นเตือนชื่อ “Marialis Cultus” ประกาศในปี 1974 โดยสมเด็จพระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 ,พระนางมารีย์เป็น “พรหมจารียที่ฟัง” , “พรหมจารีย์ที่สวดภาวนา”,”พรหมจารีเพื่อการเสวนากับพระเจ้า” ....แต่มีภาพของต้นแบบการเสวนาของการแสวงหาเมื่อ,การแจ้งข่าวของทูตสวรรค์กาเบรียล ที่ถามว่า 'เหตุการณ์นี้จะเป็นไปได้อย่างไร” พระนางมารีย์,ต้นแบบสำหรับชาวมุสลิม และคริสตชน,เป็นต้นแบบของการเสวนาด้วย,สอนเราให้เชื่อ,ไม่ใช่ปิดตัวเราเองในการติดยึด,แต่ยังเปิดและรับคนอื่นมากกว่า”