อัตตาอาณัติ (MOTU PROPRIO)
“ผู้ปกครองที่ฉลาดและซื่อสัตย์” (FIDELIS ET DISPENSATOR PRUDENS) เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินทางเศรษฐกิจของสันตะสำนัก
นครรัฐวาติกัน 24 กุมภาพันธ์ 2014 ( VIS )

         เราตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารข้างล่างของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส อัตตาอาณัติ (MOTU PROPRIO) “ผู้ปกครองที่รอบคอบและซื่อสัตย์” (FIDELIS ET DISPENSATOR PRUDENS) เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินทางเศรษฐกิจของสันตะสำนัก ลงวันที่ วันนี้ ที่ 24 กุมภาพันธ์
      "เช่นเดียวกับผู้จัดการที่ซื่อสัตย์และรอบคอบที่มีภาระหนักที่ได้รับมอบหมายมาและดำเนินการอย่างระมัดระวัง, พระศาสนจักรตระหนักถึงความรับผิดชอบในการป้องกันและจัดการทรัพย์สิน, ในแง่ของพันธกิจการประกาศพระวรสารและความเอาใส่ใจต่อคนยากจน. ในการจัดการภาคเศรษฐกิจและการเงินของสันตะสำนักด้วยวิธีพิเศษ, ต้องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับพันธกิจเฉพาะ, ไม่เพียงแต่ศาสนบริการทั่วโลกของสมเด็จพระสันตะปาปาเท่านั้น แต่สัมพันธ์กับความดีส่วนรวม,ด้วยการพัฒนาบุคคลมนุษย์อย่างเต็มที่
        หลังจากที่ได้รับการปรึกษาหารือการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหาร-เศรษฐกิจของสันตนะสำนัก.  (เทียบเอกสารลงลายมือ ณ วันที่ 18  กรกฎาคม 2013 ) และหลังจากการปรึกษาหารือกับ สภาพระคาร์ดินัลเพื่อการปฏิรูปของสังฆธรรมนูญเรื่อง “นายชุมพาแสนดี”  ('Pastor Bonus')  และกับสภาพระคาร์ดินัลในการศึกษาปัญหาทางเศรษฐกิจ และปัญหาการบริหารของสันตะสำนัก, สมณลิขิตนี้ มีลักษณะเป็นอัตตาอาณัติ ที่กำหนดมาตรการ ดังต่อไปนี้

สภาเพื่อเศรษฐกิจ
      1. สภาเศรษฐกิจโดยนัยนี้จัดตั้งขึ้น เพื่อกำกับดูแลการจัดการทางเศรษฐกิจและการกำกับดูแลโครงสร้างและงานบริหารจัดการและการเงินของคณะสมณะผู้บริหาร (Dicasteries) ของโรมันคูเรีย,ของสถาบันต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับสันตะสำนัก,และกับนครรัฐวาติกัน
       2. สภาเศรษฐกิจประกอบด้วยสมาชิก 15 คน, ได้รับการแต่งตั้งจากบรรดาพระคาร์ดินัลและพระสังฆราช 8 คนเพื่อไตร่ตรองเกี่ยวกับกิจการทั่วโลกของพระศาสนจักร,และ เป็นฆราวาสผู้เชี่ยวชาญจากชาติต่างๆ7 คน,พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินระดับมืออาชีพที่มีชื่อเสียง

3.พระคาร์ดินัลผู้ประสานงานเป็นประธานสภาเศรษฐกิจ.

เลขาธิการเพื่อเศรษฐกิจ
4. โดยนัยนี้ เลขาธิการเพื่อเศรษฐกิจได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหารของโรมันคูเรีย ตามพระสังฆธรรมนูญเรื่อง ““นายชุมพาแสนดี”  ('Pastor Bonus')
5.แต่กระนั้นก็ตาม การก่อตั้งสภาเศรษฐกิจนี้, เลขาธิการจะรายงานกิจการโดยตรงต่อสมเด็จพระสันตะปาปาและจะดำเนินการตรวจสอบบัญชีและการกำกับดูแลองค์กรต่างๆที่ระบุไว้ในข้อที่ 1 ข้างต้น,  พร้อมกับนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติ เกี่ยวกับการจัดหา และการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ ตามความสามารถของแต่ละองค์กร. อำนาจของเลขาธิการจะขยายไปยังทุกเรื่องในประการใดประการหนึ่งที่อยู่ภายในพื้นที่นี้

6. เลขาธิการเพื่อเศรษฐกิจจะมีพระคาร์ดินัลที่ดำรงตำแหน่งสมณมนตรีเป็นประธาน,จะร่วมงานกับเลขาธิการแห่งนครรัฐ. เลขาธิการใหญ่ที่เป็นสมณะผู้ใหญ่จะเป็นรองพระคาร์ดินัลสมณมนตรี

สมุหบัญชีใหญ่
7.สมเด็จพระสันตะปาปาจะทรงแต่งตั้งสมุหบัญชีใหญ่ และเขาจะตรวจสอบบัญชีขององค์กรต่างๆที่อ้างถึงในข้อที่ 1

บทบัญญัติ
8.พระคาร์ดินัลที่เป็นสมณมนตรีจะรับผิดชอบในการออกบทบัญญัติสำหรับสภาเศรษฐกิจ,เลขาธิการเพื่อเศรษฐกิจ,และ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.  จะมีการนำเสนอบทบัญญัติเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ( quam primum)  เพื่อขออนุมัติจากสมเด็จพระสันตะปาปา

       ข้าพเจ้าอนุมัติให้สิทธิว่า โดยนัยนี้ทั้งหมดที่ก่อตั้งขึ้นมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ อย่างถาวร โดยทันที,  ทั้งนี้ ให้ยกเลิกบทบัญญัติ มาตรการใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัตินี้, และให้ตีพิมพ์สมณลิขิตฉบับปัจจุบันเป็นอัตตาณัติใน Osservatore Romano ของวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ ปี 2014  และ ตีพิมพ์ใน Acta Apostolicae Sedis ต่อไปด้วย

               ให้ไว้  ณ กรุงโรม มหาวิหารนักบุญเปโตร ณ วันที่ 24   กุมภาพันธ์  2014, สมณสมัยแรกของข้าพเจ้า. "