นักเทววิทยาคือผู้บุกเบิกในการเสวนาของพระศาสนจักรกับวัฒนธรรม
นครรัฐวาติกัน , 6 ธันวาคม 2013 ( VIS )


         "เพื่อจะได้ยินเสียง, แยกให้เห็นความแตกต่าง และตีความความคิดเห็น และเพื่อนำไปตัดสินความเห็นหลากหลายนั้นด้วยความสว่างแห่งพระวาจาของพระเจ้า, เพื่อว่าความจริงที่ถูกเผยแสดงจะมีคนเข้าใจดีขึ้นและเพื่อประโยชน์มากขึ้น ." นี่คือ งานของนักเทววิทยาอย่างหนึ่ง สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสในวันนี้ โดยทรงยกข้อความมาจากธรรมนูญด้านการแพร่ธรรม ว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ 'Gaudium et Spes' ขณะที่พระองค์ทรงต้อนรับสมาชิกของคณะกรรมาธิการด้านเทววิทยาและพระอัครสังฆราชเจอร์ฮาร์ด มูลเลอร์ ประธาน, ในการประชุมประจำป

        "ดังนั้น นักเทววิทยาเป็น 'ผู้บุกเบิก’ ในการเสวนาของพระศาสนจักรกับวัฒนธรรมหลากหลาย; การเสวนาที่มีทั้งความสำคัญและมีเมตตา, ซึ่งต้องสนับสนุนการต้อนรับพระวาจาของพระเจ้าโดยส่วนหนึ่งของมนุษย์ “จากทุกชนทุกประเทศ เชื้อชาติ และทุกภาษา”, สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสถึงเนื้อหาจากที่ประชุมของคณะกรรมาธิการ, พร้อมกับหัวเรื่อง  “ความสัมพันธ์ระหว่างเอกเทวนิยมและความรุนแรง”.
          พระองค์ตรัสว่า "การไตร่ตรองของพวกท่าน" "เป็นพยานว่า แท้จริง การเผยแสดงข่าวดีของพระเจ้าสำหรับมนุษยชาติทั้งหมด. พระเจ้าไม่ได้ทรงเป็นภัยคุกคามสำหรับมนุษยชาติ.  ความเชื่อในพระตรีเอกภาพหนึ่งเดียวผู้ศักดิ์สิทธิ์และไม่เคยทรงเป็นที่มาของความรุนแรงหรือไม่มีความอดทน. ตรงกันข้าม ทรงมีพระลักษณะของการใช้เหตุผลอย่างมาก  เทียบเคียงกับมิติสากลแล้ว, ทรงรวบรวมผู้มีน้ำใจดีให้เป็นหนึ่งเดียวกัน. อีกแง่หนึ่ง การเผยแสดงพระเจ้าในพระเยซูคริสตเจ้าอย่างแน่ชัด    ด้วยบัดนี้ เสนอให้หันไปหาความรุนแรง ‘ในนามของพระเจ้า ' ล้วนเป็นไปไม่ได้  . ที่แน่ชัดคือพระเยซูเจ้าทรงปฏิเสธความรุนแรง,โดยทรงเอาชนะความชั่วด้วยความดี ด้วยพระโลหิตของกางเขนของพระองค์ ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงกระทำให้มนุษย์คืนดีกับกับพระเจ้าและทำให้พวกเขาคืนดีกันเอง. "
        "ความคิดรวบยอดของสันติภาพที่มุ่งเน้นการไตร่ตรองเกี่ยวกับคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร, ซึ่งเป็นเป้าหมายของการตีความความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์, ถูกสำแดงในพระเยซูคริสตเจ้า, เข้าสู่สภาพความเป็นจริงของชีวิตของชุมชน... ก่อนอื่น พระศาสนจักรต้องดำเนินชีวิตภายในพระศาสนจักรเองสารทางสังคม... ที่นำไปสู่โลก. ความสัมพันธ์เยี่ยงพี่น้องระหว่างผู้มีความเชื่อ, ผู้มีอำนาจเป็นผู้รับใช้,แบ่งปันกับคนยากจน : ลักษณะทั้งหมด เหล่านี้ที่ทำให้ชีวิตของพระศาสนจักรมีลักษณะเด่นจาก แหล่งกำเนิด, สามารถและต้องก่อให้เกิดต้นแบบการดำเนินชีวิตที่น่าดึงดูดสำหรับชุมชนมนุษย์ที่มีความหลากหลาย  ตั้งแต่ครอบครัวจนถึงภาคประชาสังคม".
         สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเน้นย้ำว่า "พยานนี้ เกี่ยวกับประชากรของพระเจ้า,ประชากรแห่งประกาศก,อย่างครบถ้วน. อาศัยพระคุณแห่งพระจิต,สมาชิกของ
พระศาสนจักรมี “ความสำนึกแห่งความเชื่อ”. นี่คือชนิดของ “สัญชาตญาณทางจิตวิญญาณ'  ที่ทำให้เรา  “คิดด้วยความคิดเห็นของพระศาสนจักร (''sentire cum Ecclesia'  และจะแยกแยะถึงสิ่งที่อยู่ในความสอดคล้องกับความเชื่อด้านงานแพร่ธรรมและอยู่ในจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร.  แน่นอน  “ความเห็นของผู้มีความเชื่อ' (Sensus fidelium) ไม่อาจสับสนกับความเป็นจริงทางสังคมของความเห็นส่วนใหญ่. ดังนั้น มันมีความสำคัญ-และเป็นหนึ่งในภาระงานของคุณ - เพื่อพัฒนาบรรทัดฐานที่ปล่อยให้มีการแสดงออกที่แท้จริงของ '“ความเห็นของผู้มีความเชื่อ' ที่ต้องถูกพิเคราะห์แยกแยะ.... ' ความสนใจนี้มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับนักเทววิทยา.
           สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ที่ 16   มักจะทรงชี้ให้เห็นว่า นักเทววิทยายังคงใจใส่กับการดำเนินชีวิตตามความเชื่อเยี่ยงคนถ่อมตนและคนที่ไม่มีความสำคัญ,ซึ่งพระบิดาทรงเผยแสดงสิ่งที่พระองค์ทรงซ่อนจากผู้รู้และคนฉลาดกับเขา. "
         พระองค์ทรงตั้งข้อสังเกตว่า  "ดังนั้น พันธกิจของท่านจึงน่าสนใจและสุ่มเสี่ยง. ที่น่าสนใจเพราะการวิจัยและคำสอนของเทววิทยาสามารถเป็นเส้นทางที่แท้จริงสู่ความศักดิ์สิทธิ์, ที่บรรดาปิตาจารย์และนักปราชญ์ของพระศาสนจักรได้รับรองแล้ว. แต่สุ่มเสี่ยงเพราะมีสิ่งล่อลวงกับงานวิจัยนั้น:เช่น จิตใจแข็งกระด้าง,ความหยิ่งยโสและความทะเยอทยาน,”  เพื่อเตือนให้ระลึกถึงจดหมายจากนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีถึงนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัวเกี่ยวกับอันตรายนี้. เตือนว่า : "ข้าพเจ้าดีใจว่า ท่านกำลังสอนเทววิทยาอันศักดิ์สิทธิ์แก่บรรดาพี่น้อง มิฉะนั้น ในการศึกษา ท่านไม่อาจดับจิตตารมณ์แห่งการภาวนาอันศักดิ์สิทธิ์และการอุทิศตนได้”
           สมเด็จพระสันตะปาปาทรงสรุปว่าทรงถวายนักเทววิทยาแพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมล เพื่อว่า นักเทววิทยาจะได้ "เติบโตในจิตตารมณ์แหงการภาวนาและการอุทิศตน และดังนี้ ด้วยความสำนึกในความสุภาพถ่อมตนอย่างลึกซึ้ง พวกท่านจะเป็นคนรับใช้ที่แท้จริงของพระศาสนจักร”