ชาวยิวและชาวคาทอลิกเผชิญหน้ากับข้อท้าทายด้านศาสนาในสังคมร่วมสมัย
นครรัฐวาติกัน, 18 ตุลาคม 2013 ( VIS )
       คณะกรรมาธิการนานาชาติเพื่อประสานงานระหว่างคาทอลิกกับชาวยิว  (The International Catholic-Jewish Liaison Committee (ILC), การประชุมเทางการแบบเปิดกว้างสำหรับการเสวนาอย่างต่อเนื่องระหว่างคณะกรรมาธิการเพื่อศาสนาสัมพันธ์กับชาวยิวและคณะกรรมาธิการนานาชาติเพื่อให้คำปรึกษาหารือ(International Jewish Committee for Interreligious Consultations (IJCIC), ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม 2013. โดย คุณ เบ็ตตี้ เอเรนเบร์ก เป็นประธานร่วมของศาสนาสัมพันธ์ประสานงานระหว่างคาทอลิกกับชาวยิว  เพื่อสันตะสำนัก IJCIC และพระคาร์ดินัลเคิร์ต โคช์ส ประธานของ ILC” ประธานคณะกรรมาธิการสันตะสำนักเพื่อศาสนาสัมพันธ์กับชาวยิว. หัวเรื่องของการประชุมคือ "ความท้าทายสำหรับศาสนาในสังคมร่วมสมัย", และในตอนท้ายของการประชุม ผู้ข้าร่วม ประชุมได้ตีพิมพ์แถลงการณ์ร่วมที่เข้าประเด็นหลายประการ:

               "1. มรดกร่วมระหว่างคาทอลิกกับชาวยิวในคำพยานจากพระคัมภีร์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับครอบครัวมนุษย์ตลอดประวัติศาสตร์. ข้อพระคัมภีร์ของเราเป็นพยานทั้งแต่ละคนและมนุษยชาติ ที่ได้รับการสั่งสอน ได้รับชี้นำและได้รับการปกป้องโดยพระเจ้าแห่งความเอื้ออาทร. อาศัยความเข้าใจพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์นี้,  และผู้เข้าร่วมคาทอลิกและชาวยิวในที่ประชุมตอบสนองโอกาสที่อุบัติขึ้นใหม่ และความยากลำบากที่ต้องเผชิญกับความเชื่อทางศาสนา และการปฏิบัติศาสนาในโลกปัจจุบัน
                 2.เสรีภาพทางศาสนา
       พระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสที่สนับสนุนงานของเรา แสดงถึงความห่วงใยต่อสวัสดิการของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนยากจนและผู้ถูกกดขี่, เราแบ่งปันความเชื่อในศักดิ์ศรีที่พระเจ้าประทานแก่แต่ละคน.  นั่นคือ แต่ละคนย่อมมีเสรีภาพด้านมโนธรรมและเสรีภาพในในการแสดงออกทางศาสนาทั้งส่วนตัวและต่อสาธารณะ.  เราเสียใจกับการทำลายศาสนา,การใช้ ศาสนาเพื่อจุดหมายทางการเมือง
               3. การเบียดเบียนคริสตชน
               คณะกรรมาธิการนานาชาติเพื่อประสานงานระหว่างคาทอลิกกับชาวยิวทำงานเพื่อสันตะสำนักเพื่อศาสนาสัมพันธ์กับชาวยิวและคณะกรรมาธิการ IJCIC  ที่จะทำงานร่วมกันในสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการเบียดเบียนชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ทั่วโลก ขณะที่พวกเขาลุกฮือขึ้นที่จะเรียกความสนใจไปยังปัญหาเหล่านี้และเพื่อสนับสนุนความพยายามที่จะรับรองความเป็นพลเมืองเต็มขั้นไปยังประชาชนทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ทางศาสนาหรืออัตลักษณ์ด้านชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางและตะวันไกล. ยิ่งกว่านั้น เราขอสนับสนุนความพยายามที่จะส่งเสริมสวัสดิภาพของชนกลุ่มน้อยในทั่วตะวันออกกลาง
              4.การลุกฮือต่อต้านชาวยิว
             ในขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสย้ำว่า 'คริสตชนไม่ใช่ผู้ต่อต้านพวกเซมาติค’.  เราสนับสนุนให้ผู้นำทุกศาสนา ดำเนินการต่อไปที่จะเป็นปากเสียงที่แข็งแกร่งต่อต้านบาปนี้. การเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 50 ของสมสาส์น 'Nostra Aetate ' ในปี 2015 เป็นช่วงเวลาที่พิเศษ ในการที่จะยืนยันอีกครั้งบของการตัดสินของผู้ต่อต้านพวกเซมาติค.  เราขอร้องว่า การกำจัดคำสอนของชาวเซมาติคจากบทเทศน์และตำราเรียนทุกแห่งในโลก.  ในทำนองเดียวกัน การแสดงออกของความรู้สึกต่อต้านคริสตชนก็เป็นที่ยอมรับไม่ได้อย่างเท่าเทียมกัน
           5.การศึกษา
       เราขอแนะนำว่า การศึกษาสมณสาส์นเรื่อง “Nostra Aetate” (ความสัมพันธ์กับศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์) ของชาวยิวและชาวคาทอลิก และเอกสารที่ตามมาของสันตะสำนักที่ปฏิบัติตามแถลงการณ์ของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ตามประมวลผลของพวกเขา. ขณะที่เกิดชนรุ่นใหม่ของผู้นำชาวยิวและชาวคาทอลิก, เรายืนยันวิธีที่ลึกซึ้งว่า “Nostra Aetate” ได้รับการเปลี่ยนแปลงความความสัมพันธ์ระหว่างชาวยิวและชาวคาทอลิก. มีความจำเป็นที่รุ่นต่อไปรับคำสั่งสอนเหล่านี้ และให้แน่ใจว่า พวกเขาจะไปทุกมุมของโลก

           ในการเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ เราชาวคาทอลิกและชาวยิวจะฟื้นฟูความมุ่งมั่นของเรา เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนของเราเองในเรื่องความรู้และความเคารพซึ่งกันและกัน "