บทสรุปของพระสมณสาส์น  "แสงแห่งความเชื่อ” ( Lumen Fidei (LF) 

นครรัฐวาติกัน, 5 กรกฎาคม 2013 (VIS)

บทสรุปสมณสาส์น  "แสงแห่งความเชื่อ” เป็นพระสมณสาส์นฉบับแรกของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระองค์ได้ทรงจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2013  ก่อนหน้านี้ พระองค์ทรงลงพระนามอนุมัติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2013
แสงแห่งความเชื่อ (LF) เป็นพระสมณสาส์นฉบับแรกของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส  แบ่งเป็นสี่บท รวมทั้งบทนำและบทสรุปด้วย           
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงอธิบายว่า จดหมายนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมของสมณสาส์น “ความรักและความหวัง” ของพระสันตะปาปากิติคุณเบเนดิกต์ที่ 16 และเริ่ม “ผลงานดีเยี่ยม” ที่พระสันตะปาปากิตติคุณทรงประพันธ์สมณสาส์นเกี่ยวกับความเชื่อที่ “ใกล้จะเสร็จ”  บัดนี้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเพิ่ม “บทประพันธ์เพิ่มเติม”ให้กับ “ร่างครั้งแรก” ที่มีอยู่เดิมดังกล่าวข้างต้น

บทนำ (ข้อ 1-7) ของสมณสาส์น (LF) อธิบายถึงจุดมุ่งหมายที่เป็นพื้นฐานของเอกสาร:

ประการแรก เน้นย้ำลักษณะเด่นของแสงที่เป็นต้นแบบของความเชื่อ สามารถอธิบายความมีอยู่ของมนุษย์ทั้งหมด เพื่อช่วยให้มนุษย์แยกแยะความดีออกจากความชั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยใหม่ที่ความเชื่อถูกต่อต้านไม่ให้แสวงหา และถือว่าความเชื่อเป็นภาพลวงตา ก้าวกระโดดเข้าสู่ความว่างเปล่า และยังขัดขวางอิสรภาพของมนุษย์อีกด้วย
ประการที่สอง     สมณสาส์น - ปีแห่งความเชื่อนี้ เป็นโอกาสระลึกถึงปีที่ 50 ของการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ซึ่งเป็น“สภาที่เน้นเรื่องความเชื่อ - แสวงหาอำนาจสนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับความกว้างขวางของขอบเขตความรู้ที่ความเชื่อเปิดเผยให้ เพื่อว่าจะมีการยืนยันความเชื่อนี้อย่างเป็นเอกภาพและอย่างสมบูรณ์. แท้จริง ความเชื่อไม่ใช่สภาพที่ทึกทักเอาได้ แต่เป็นของขวัญจากพระเจ้าที่ได้รับการจะหล่อเลี้ยงและเสริมแรง.
            สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประพันธ์ว่า  “ผู้เชื่อ ,จะเห็น” เนื่องจากแสงแห่งความเชื่อมาจากพระเจ้าและสามารถส่องสว่างแก่ทุกมุมมองของการดำรงอยู่ของมนุษย์: ความเชื่อไม่เพียงดำเนินมาตั้งแต่อดีต จากความทรงจำถึงพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า แต่ยังไปสู่อนาคตขณะที่เปิดขอบฟ้าที่กว้างขวางด้วย
บทที่หนึ่ง ( ข้อ  8-22): เราเชื่อในความรัก (1 ยอห์น 4: 16) ในการกล่าวถึงอับราฮัมซึ่งเป็นบุคคลในพระคัมภีร์ ในบทนี้ เราอธิบายความเชื่อความเชื่อในบทนี้เป็น"การฟัง"พระวาจาของพระเจ้า, การ"เรียก" ที่ให้ออกจากตัวเองที่หงอยเหงาเพื่อเปิดตัวเองไปสู่ชีวิตใหม่ และ "สัญญา" ถึงอนาคต ซึ่งจะทำให้เกิดความต่อเนื่องของเส้นทางของเราผ่านกาลเวลา, เชื่อมโยงอย่างมากกับความหวัง. ความเชื่อยังมีความหมายกว้างถึง “ความเป็นบิดา”, เพราะพระจิตที่เรียกเราไม่ได้ทรงเป็นบุคคลแปลกหน้า, แต่ทรงเป็นพระบิดาเจ้า,ทรงเป็นแหล่งความดี,  พระองค์ทรงเป็นจุดเริ่มต้นและทรงค้ำจุนทุกสิ่ง. ในประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอล,ความเชื่อเข้าไม่ได้กับการถือรูปเคารพ ซึ่งมนุษย์ถูกทำลายลงด้วยความปรารถนาหลายหลากของเขาและ"เรื่องราวในชีวิตของเขาจึงสลายไปกับสิ่งชั่วคราวก่ายกองที่ขาดความเชื่อมโยง”, กำลังปฏิเสธเขา ขณะที่รอให้พระสัญญาสำเร็จไป. ตรงกันข้าม ความเชื่อคือความความวางใจในพระเมตตารักของพระเจ้าซึ่งมักจะต้อนรับและให้อภัยเขา,และที่ยืด "ความคดเคี้ยวของประวัติศาสตร์ของเรา"ให้ตรง เป็นความตั้งใจที่จะให้ตัวเองได้รับการแปรสภาพใหม่โดย "ของประทานที่ให้เปล่าพระเจ้า ซึ่งเรียกร้องให้เขามีความสุภาพถ่อมตนและความกล้าหาญที่จะไว้วางใจและมอบตนแด่พระเจ้า ช่วยให้เราสามารถเห็นเส้นทางเจิดจ้าที่นำไปสู่การพบปะกับพระเจ้าและมนุษยชาติ,ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์แห่งความรอด"(ข้อ 14) และในที่นี้ "คำพูดที่ดูเหมือนขัดแย้งกัน" ของความเชื่อ,เราจะหันไปหาองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างสม่ำเสมอ ผู้ทรงบันดาลให้มนุษยชาติมีเสถียรภาพ ปลดปล่อยเราจากการนับถือรูปเคารพ
              แล้วสมณสาส์นกลับไปสู่พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นบุคคลกลาง
ซึ่งเปิดทางแก่เราไปสู่ความจริงที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเราเอง,เป็นการแสดงออกแห่งความรักของพระเจ้าที่เป็นรากฐานของความเชื่อ: "ในการพิศเพ่งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า...ความเชื่อก็จะแข็งแกร่งขึ้น" ในการนี้ พระองค์ทรงเผยให้เห็นความรักที่ไม่สั่นคลอนที่มีต่อมนุษยชาติ.  การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า บันดาลให้พระองค์ทรงเป็น "องค์พยานที่น่าเชื่อถือได้", "สมควรที่จะเชื่อ",ผ่านพระเจ้าผู้ทรงกระทำการอย่างแท้จริงตลอดประวัติศาสตร์, ทรงกำหนดชะตากรรมสุดท้ายไว้.  แต่มี "มุมมองที่สำคัญ" ของความเชื่อในพระเยซูเจ้า: " การมีส่วนร่วมในวิธีมองของพระองค์". แท้จริง ความเชื่อไม่ใช่มองพระเยซูเจ้าเท่านั้น แต่มองด้วยมุมมองของพระเยซูเจ้าเอง. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงใช้การเปรียบเทียบเพื่ออธิบาย,เช่นเดียวกับวิธีการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ที่เราวางใจใน "คนอื่น ๆ ที่รู้ดีกว่าที่เรารู้" – ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก,
เภสัชกร, ทนายความ – สำหรับความเชื่อแล้ว เราต้องการคนที่น่าเชื่อถือและเชี่ยวชาญ "ที่พระเจ้าทรงเกี่ยวข้องด้วย" ผู้นั้นคือพระเยซูเจ้า "พระบุคคลที่ทำให้เรารู้จักพระเจ้า." ดังนั้น เราเชื่อในพระเยซูเจ้าก็ต่อเมื่อเรารับพระวาจาของพระองค์และเราเชื่อในพระเยซูเจ้าก็ต่อเมื่อเราต้อนรับพระองค์เข้ามาในชีวิตของเราและมอบตัวเราเองแด่พระองค์ อันที่จริง การรับสภาพมนุษย์ของพระองค์ทำให้เรามั่นใจว่า ความเชื่อไม่แยกเราออกจากสภาพความเป็นจริง, แต่กลับช่วยเราให้เข้าใจความหมายที่ลึกที่สุด.ส่วนความเชื่อ มนุษย์จะรอด ต่อเมื่อเขาเปิดตัวเองต่อองค์ความรักที่เสด็จนำหน้าเขาและแปรสภาพเขาจากภายใน. และนี่คือการกระทำที่แท้จริงของพระจิตเจ้า: "คริสตชนสามารถมองเห็นได้ด้วยพระเนตรของพระเยซูเจ้าและร่วมใจกับพระองค์, มีอุปนิสัยใจคอเยี่ยงบุตรของพระองค์ เพราะเขาหรือเธอร่วมในความรักของพระองค์ ซึ่งเป็นจิต” (No.21) . ปราศจากการประทับอยู่ของพระจิตเจ้า จะเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า. ดังนั้น "ชีวิตของผู้มีความเชื่อจะเป็นการดำรงอยู่ของพระศาสนจักร" เนื่องจากต้องมีการยืนยันความเชื่อภายในพระกายทิพย์แห่งพระศาสนจักร,ซึ่งเป็น "ความเป็นหนึ่งเดียวที่เป็นรูปธรรมของผู้มีความเชื่อ." คริสตชนเป็น"หนึ่งเดียวกัน" โดยไม่สูญเสียปัจเจกภาพของพวกเขาและในการรับใช้ผู้อื่นแบบเอาใจเขามาสู่ใจเรา.  ดังนั้น "ความเชื่อไม่ใช่เรื่องส่วนตัวหรือเป็นความคิดเห็นของแต่ละคน แต่ "มาจากการได้ยินและมุ่งที่จะแสดงออกเป็นถ้อยคำและประกาศ "

บทที่สอง (ข้อ 23-36): ถ้าคุณไม่เชื่อ, คุณก็จะไม่เข้าใจ  (อสย. 7:9) สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างความเชื่อกับความจริง เป็นความจริงที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับพระเจ้า,การประทับอย่างสัตย์ซื่อในตลอดประวัติศาสตร์ของพระองค์ "ความเชื่อโดยปราศจากความจริง, จะทำให้รอดพ้น”  "เป็นเรื่องราวที่งดงาม, เป็นการฉายภาพไปยังความโหยหาความสุขของเรา” และในปัจจุบัน เรามี "วิกฤตของความจริงในยุคของเรา" จึงมีความจำเป็นที่คิดถึงความเชื่อมโยงนี้มากกว่าแต่ก่อน,เป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีแนวโน้มที่จะยอมรับเพียงความจริงของเทคโนโลยี, ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์บริหารจัดการสร้างและกำหนดเป็นมาตรการผ่านวิทยาศาสตร์,ความจริงที่ "ใช้การได้", หรือเป็นความจริงเดียวที่ใช้การได้เพียงเพื่อแต่ละบุคคลและไม่ได้รับใช้ความดีส่วนรวม.  ทุกวันนี้ เราสงสัยใน "ตัวความจริงเอง,ความจริงที่ใช้คำอธิบายแบบรวบยอดได้ว่า ชีวิตของเราเป็นเรื่องปัจเจกภาพและอยู่ในสังคม" รูปแบบต่างๆของแนวคิดเผด็จการในศตวรรษที่ 20 ที่อ้างถึงความจริงต่างๆ แบบผิดๆ. อย่างไรก็ตาม   สิ่งนี้จะนำไปสู่ "ความจำที่บกพร่องมากในโลกปัจจุบันของเรา"– ซึ่งเอื้อต่อแนวคิดสัมพัทธนิยมและความกลัวแนวคิดบ้าคลั่ง – โดยลืมปัญหาเกี่ยวกับของความจริงนี้อันเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง – นั่นคือ ปัญหาเกี่ยวกับพระเจ้า.
                  แล้วสมณสาส์นเน้นความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อกับความรัก ไม่ใช่เป็นแค่  "อารมณ์ชั่ววูบ", แต่เป็นความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าที่แปรสภาพเราจากภายในและประทานดวงตาใหม่แก่เราเพื่อจะเห็นสภาพความเป็นจริง. ดังนั้น ความเชื่อถูกเชื่อมโยงไปสู่ความจริงและความรัก, "ความรักและความจริงเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้” เพราะความรักที่แท้จริงเท่านั้นจะทนทานต่อการทดสอบของเวลา และเป็นแหล่งที่มาของความรู้.  และเนื่องจากความรู้เกี่ยวกับความเชื่อเกิดจากความรักสัตย์ซื่อของพระเจ้า "ความจริงและความจงรักภักดีจึงต้องไปด้วยกัน." ความจริงที่เปิดเผยถึงความเชื่อคือความจริงเกี่ยวกับการพบปะกับพระคริสตเจ้าที่ทรงรับสภาพมนุษย์, ผู้เสด็จเข้ามาประทับท่ามกลางเรา, ทรงสัมผัสเราและประทานพระหรรษทานแก่เราเพื่อแปรสภาพหัวใจของเรา.
                  ในประเด็นนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเริ่มการไตร่ตรองที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับ "การเสวนาระหว่างความเชื่อกับเหตุผล" เกี่ยวกับความจริงในโลกปัจจุบัน ซึ่งถูกลดทอนเป็น "ลักษณะเที่ยงแท้ที่ขึ้นกับแต่ละคน” " ว่าเป็นความจริงที่ก่อให้เกิดความกลัว, และมักจะเป็นสิ่งเดียวกับความดันทุรังที่ต้องการเป็นแนวคิดเผด็จการ. แต่ถ้าความจริงคือความต้องการความรักของพระเจ้าซึ่งไม่บังคับอย่างรุนแรงและไม่กดดันใคร. ดังนั้น ความเชื่อต้องไม่ดันทุรัง และผู้มีความเชื่อต้องไม่อวดหยิ่ง. ตรงกันข้าม ความเชื่อทำให้ผู้มีความเชื่ออ่อนน้อมถ่อมตนและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพผู้อื่น แต่นี้ต่อไป ความเชื่อต้องนำไปสู่การเสวนาในทุกสาขาวิชา: ในเรื่องของวิทยาศาสตร์,ในขณะที่ปลุกสำนึกที่สำคัญและแผ่ขยายไปสู่เรื่องของเหตุผล, เป็นการเชิญชวนให้เรามองการเนรมิตสร้างด้วยความประหลาดใจ; ในบริบทของการทำศาสนสัมพันธ์นั้น,ศาสนาคริสต์ก็ได้ร่วมจัดพิมพ์เอกสาร; เสวนากับผู้ที่แสวงหาความจริงอย่างไม่หยุดหย่อน, ซึ่ง "มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติการราวกับพระเจ้าได้มีอยู่" เพราะ "พระเจ้าทรงเป็นแสงสว่างและผู้ที่แสวงหาพระองค์จิตใจบริสุทธิ์ก็จะพบพระองค์” “ใครก็ตามที่เริ่มเดินบนเส้นทางของการทำดีต่อผู้อื่น เท่ากับเขาเข้าใกล้พระเจ้าแล้ว"
               ในที่สุด สมณสาส์นกล่าวเกี่ยวกับเทววิทยาและยืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ที่ปราศจากความเชื่อ เนื่องจากพระเจ้าไม่ทรงเป็นเพียง "วัตถุ" ธรรมดาสามัญ แต่เป็นผู้ทรงกระทำพระองค์เองให้เป็นที่รู้จัก. เทววิทยาคือการมีส่วนร่วมในการรู้ว่าที่พระเจ้าทรงมีความรู้เกี่ยวกับพระองค์เอง; เทววิทยาที่สำคัญต้องรับใช้ความเชื่อคริสตชนและอำนาจสอนของ
พระศาสนจักร ไม่จำกัดวงกับอิสรภาพด้านเทววิทยาเท่านั้น, แต่เป็นองค์ประกอบที่สร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกับพระวาจาของพระคริสตเจ้าซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด
 บทที่สาม (ข้อ 37-49): สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประพันธ์ไว้ว่า “ข้าพเจ้าส่งมอบธรรมประเพณีที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีกทอดหนึ่ง และมอบให้กับท่าน” (1 โครินธ์ 15:3) บทนี้จะมุ่งเน้นทั้งความสำคัญของการประกาศพระวรสาร: ผู้ที่เปิดตัวเองต่อความรักของพระเจ้าจะไม่สามารถเก็บของประทานนี้ไว้กับตัวเอง. แสงสว่างของพระเยซูเจ้าส่องสว่างบนใบหน้าของคริสตชนและแผ่กระจายออกไปด้วยวิธีนี้, ยังถูกถ่ายทอดด้วยการสัมผัสติดต่อกันเหมือนเปลวไฟที่จุดสว่างจากคนอื่นและส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น, ผ่านโซ่คล้องพยานถึงความเชื่ออย่างต่อเนื่อง.การนี้นำไปสู่ความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อกับการระลึกถึงขณะที่ความรักของพระเจ้าช่วยให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันทุกครั้ง, ทำให้เราเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระคริสตเจ้า. ยิ่งกว่านั้น  "เป็นไปไม่ได้ที่จะเชื่อตัวของเราเอง" เพราะความเชื่อไม่เป็น "การตัดสินใจของแต่ละคน" แต่เปิด "ตัวฉัน" แก่ "เรา" และมักเกิดขึ้น "ภายในชุมชนของพระศาสนจักร”. ดังนั้น "คนที่เชื่อจะไม่เคยอยู่คนเดียว" ในขณะที่เขาค้นพบว่า พื้นที่ต่างๆของตัวเองขยายออกไปและก่อให้เกิดความสัมพันธ์ใหม่ๆที่เสริมสร้างชีวิต.
               อย่างไรก็ตาม มี “วิธีพิเศษต่างๆ" เพื่อถ่ายทอดความเชื่อ: สื่อเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็น “การระลึกถึงที่ทำให้เหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นเป็นจริง”.
                 เป็นครั้งแรกที่สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสเกี่ยวกับศีลล้างบาป – ทั้งสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่ ในรูปแบบของคริสตชนสำรอง – ซึ่งเตือนเราว่า ความเชื่อจะไม่เกิดผลของแต่ละบุคคลที่อยู่ตามลำพังและปฏิบัติงานตามลำพัง แต่บุคคลควรรับหน้าที่ในความเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักร.คำอธิบายของสมณสาส์นนี้คือ  "ไม่มีใครโปรดศีลล้างบาปให้ตัวเองได้"
                 ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากเด็กที่ได้รับศีลล้างบาปไม่อาจยืนยันความเชื่อด้วยตัวเอง  บิดามารดาและบิดาอุปถัมภ์/มารดาอุปถัมภ์ต้องสนับสนุนเขา, “ความร่วมมือระหว่างพระศาสนจักรกับครอบครัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
                 สมณสาส์นกล่าวถึงศีลมหาสนิท,ซึ่งเป็น “การหล่อเลี้ยงที่มีค่าสำหรับความเชื่อ”, "การกระทำที่เป็นการระลึกถึง,การทำให้ธรรมล้ำลึกมีอยู่จริงในปัจจุบัน” ซึ่ง "นำโลกที่มองเห็นได้ไปสู่โลกที่มองไม่เห็น”, เป็นการสอนเราให้มีประสบการณ์ความลึกล้ำของสภาพความเป็นจริง. แล้วสมเด็จพระสันตะปาปาทรงพิจารณาการยืนยันความเชื่อคือ “บทข้าพเจ้าเชื่อ” (The Creed) ซึ่งผู้มีความเชื่อไม่เพียงแต่ยืนยันความเชื่อเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องในความจริงที่เขายืนยันด้วย, “บทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย”ที่คริสตชนเรียนรู้ที่จะเห็นผ่านพระเนตรของพระคริสตเจ้า, อย่าเข้าใจว่าบัญญัติสิบประการเป็น "ชุดคำสั่งเชิงลบ" แต่เป็น "คำแนะนำที่เป็นรูปธรรม"มากกว่า เพื่อเข้าสู่การสนทนากับพระเจ้า "เพื่อพระเมตตาของพระองค์จะโอบกอดเขา บทนี้จึงเป็น "เส้นทางแห่งความกตัญญู" ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า
                   ในที่สุด สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเน้นว่า มีความเชื่อประการหนึ่งที่มาจาก “ความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระเจ้า”, ต้องทำให้เป็นที่รู้จักและยืนยันได้ เนื่องจากนำไปสู่อาศัยพระผู้เป็นเจ้าเดียว ที่ประทาน "การเพ่งมองร่วมกัน” แก่เรา และ”ร่วมกันทั้งหมดในพระศาสนจักรซึ่งเป็นกายเดียวและจิตเดียว”. ดังนั้น จึงมีความเชื่อหนึ่งเดียวเท่านั้น, จึงต้องมีการยืนยันอย่างบริบูรณ์และมีบูรณาการ: "เอกภาพของความเชื่อคือเอกภาพของพระศาสนจักร”,การลดทอนบางสิ่งจากความเชื่อเป็นการลดทอนบางสิ่งจากความสัตย์จริงแห่งเอกภาพ.
            ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากเอกภาพแห่งความเชื่อคือเอกภาพแห่งองคาพยพทรงชีวิต จะสามารถผสมผสานทุกสิ่งที่เผชิญอยู่,แสดงตัวเองเป็นแบบสากล,ไม่คำนึงถึงความหลากหลาย,กำลังส่องแสงและสามารถนำทุกสิ่งในเอกภพและประวัติศาสตร์ทั้งหมดไปสู่การแสดงออกที่งดงามที่สุด โดยการสืบทอดตำแหน่งของอัครสาวกรับรองเอกภาพนี้ .
บทที่สี่ (ข้อที่ 50-60): พระเจ้าทรงจัดเตรียมเมือง(สวรรค์)ไว้ให้พวกเขา แล้ว (ฮีบรู 11:16) บทนี้อธิบายต่อความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อกับความดีร่วม ซึ่งนำไปสู่การเนรมิตสร้างสถานที่ที่ผู้ชายและผู้หญิงอาจอยู่ร่วมกับคนอื่นได้. ความเชื่อซึ่งเป็นการให้กำเนิดความรักของพระเจ้า, เสริมสร้างพันธะของมนุษยยชาติและยอมรับใช้ความยุติธรรม สิทธิต่างๆและสันติสุข. นี่คือเหตุผลที่ความเชื่อไม่ห่างไกลจากโลกและเกี่ยวข้องกับความมุ่งมั่นที่แท้จริงของคนร่วมสมัย. ตรงกันข้าม ถ้าปราศจากความรักของพระเจ้าที่เราสามารถวางไว้ในพระองค์ พันธต่างๆระหว่างมนุษย์จะขึ้นกับการใช้ประโยชน์, ผลประโยชน์และความกลัว. ความเชื่อยึดพื้นฐานที่ลึกที่สุดของความสัมพันธ์ต่างๆของมนุษย์,ชะตากรรมที่แน่นอนของพวกเราในพระเจ้า,และจัดพวกเขาให้รับใช้ความดีร่วม”; ความเชื่อสำหรับทุกคนมุ่งความดีร่วม จุดมุ่งหมายจึงไม่ใช่เพียงการสร้างสิ่งที่ตามมาภายหลัง แต่เพื่อช่วยอบรมศีลธรรมแก่สังคม เพื่อพวกเขาจะก้าวหน้าไปสู่อนาคตแห่งความหวังร่วมกัน
              แล้วสมณสาส์นยังพิจารณาพื้นที่เหล่านั้นที่ใช้ความเชื่อส่องสว่าง: ประการแรกที่สำคัญกว่าหมด คือ การเข้าใจว่า ครอบครัวอยู่บนพื้นฐานของการแต่งงานเพราะเป็นเอกภาพที่มั่นคงระหว่างชายกับหญิง. สิ่งนี้เกิดจากการรับรู้และการยอมรับความดีงามของความแตกต่างทางเพศและอยู่บนพื้นฐานของความรักในพระคริสตเจ้า, คำมั่นสัญญาที่ว่า "จะรักกันตลอดไป" และยอมรับความรักว่าเป็นผู้สร้างที่นำไปสู่การให้กำเนิดบุตร.แล้ว ณ ที่นี้ สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสถึงวันเยาวชนโลกที่เยาวชนแสดง “ความชื่นชมยินดีแห่งความเชื่อ” และความมุ่งมั่นที่จะทำให้ความเชื่อดำรงชีวิตอย่างมั่นคงและอย่างใจกว้าง. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประพันธ์ไว้ว่า “คนหนุ่มสาวต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างเต็มที่" ด้วย"การพบปะกับพระคริสตเจ้า.... ขยายขอบเขตอันกว้างไกลของการดำรงอยู่นั้น,ซึ่งจะทำให้ความหวังมั่นคง แล้วจะไม่ทำให้ผิดหวัง. ความเชื่อไม่เป็นที่ลี้ภัยสำหรับคนที่อ่อนเปลี้ยเพลียแรง, แต่เป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมชีวิตของเรา". และอีกครั้ง ในความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมดความเชื่อทำให้เราเป็นบุตรของพระเจ้า, แท้จริง  ความเชื่อต้องให้ความหมายใหม่แก่การเป็นพี่น้องกันทั้งโลก, ซึ่งไม่ใช่ความเสมอภาคเท่านั้น แต่เป็นประสบการณ์ร่วมที่มีพระเจ้าทรงเป็นพระบิดา, ความเข้าใจรวบยอดเกี่ยวกับศักดิ์ศรีเฉพาะของแต่ละคน. พื้นที่อื่นคือ พื้นที่ของธรรมชาติแห่งความเชื่อ นั่นคือ ความเชื่อช่วยเราให้เคารพธรรมชาติ, เพื่อ "หาต้นแบบของการพัฒนาซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานธรรมดาที่เป็นการใช้ประโยชน์และหาผลกำไร แต่พิจารณาการสร้างว่าเป็นของขวัญ." ความเชื่อสอนเราให้หารูปแบบต่างๆของรัฐ,ซึ่งอำนาจรัฐมาจากพระเจ้า และรับใช้ความดีร่วม; ความเชื่อเสนอความเป็นไปได้ที่เราจะให้อภัย เพื่อทำให้เราเอาชนะความขัดแย้งทั้งหมด. "เมื่อความเชื่อถูกทำให้อ่อนแอลง,รากฐานของมนุษยชาติก็เสี่ยงที่จะถูกทำให้อ่อนแอด้วย" และถ้าเราถอดถอนความเชื่อในพระเจ้าออกจากเมืองของเรา, เราก็จะสูญเสียความไว้วางใจที่มีต่อกัน และจะมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยความกลัวเท่านั้น ดังนั้น เราต้องไม่อายที่จะยืนยันพระเจ้าต่อหน้าสาธารณชน,เพราะความเชื่อส่องสว่างชีวิตทางสังคม.  ความเชื่อส่องสว่างพื้นที่อื่นด้วย ได้แก่ พื้นที่แห่งความทุกข์ทรมานและความตาย: คริสตชนตระหนักว่า ถึงไม่อาจกำจัดความทุกข์ได้, แต่เราให้ความหมายใหม่ นั่นคือ เราถวายความทุกข์นั้นไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้าที่ไม่ทรงเคยทอดทิ้งเรา และดังนั้น ความทุกข์จะกลายเป็น"ช่วงเวลาของการเจริญเติบโตในความเชื่อ" พระเจ้าไม่ได้ประทานเหตุผลเพื่ออธิบายทุกสิ่งกับคนที่พระองค์ประทับอยู่เป็นเพื่อนเขา, แต่พระองค์ทรงเปิดธรณีประตูแห่งแสงให้ส่งองในเงามืดต่างๆ.  ในแง่นี้ ความเชื่อถูกเชื่อมโยงกับความหวัง.
                และ ณ ที่นี่ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเรียกร้องดังนี้: "ให้เราปฏิเสธที่จะถูกปล้นเอาความหวังไป,หรือทำให้ความหวังของเราริบหรี่ลงด้วยคำตอบง่ายๆต่อการแก้ปัญหาที่ปิดกั้นความก้าวหน้าของเรา."

               บทสรุป (ข้อ 58-60):  “เธอเป็นสุขที่เชื่อ” (ลก.1.45) ในตอนท้ายของสมณสาส์น,สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเชื้อเชิญเราให้มองดูพระนางมารีย์ที่เป็น “ไอคอนที่สมบูรณ์แบบ" แห่งความเชื่อ ผู้ที่เป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า, ผู้ให้กำเนิด"ความเชื่อและความชื่นชมยินดี."      สมเด็จพระสันตะปาปาขอถวายคำภาวนาแด่พระนางมารีย์ เพี่อพระนางจะช่วยมนุษย์ให้ดำรงในความเชื่อของเขา,เพื่อเตือนเราผู้มีความเชื่อว่า จะไม่อยู่คนเดียวตามลำพัง และสอนเราให้มองผ่านพระเนตรของพระเยซูเจ้า.