มหาชนกลุ่มแรกที่เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส
การติดตามพระเยซูเจ้าคือการเรียนรู้ที่จะออกจากตัวเราเอง

นครรัฐวาติกัน, 27 มีนาคม 2013 (VIS)

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสว่า  "ข้าพเจ้าปลาบปลื้มใจที่ต้อนรับพวกท่านที่มาพบข้าพเจ้เป็นคณะแรก” 
สัตบุรุษหลายพันคนที่เนืองแน่นในจตุรัสเซนต์ปีเตอร์มาฟังการสอนคำสอนครั้งแรกของพระสังฆราชแห่งโรม “ด้วยความกตัญญูและความเคารพ" พระองค์ตรัสต่อไปว่า “ข้าพเจ้าเริ่ม “การเป็นพยาน” นี้ด้วยมือของผู้ที่สืบตำแหน่งก่อนข้าพเจ้า. หลังวันสมโภชปัสกา เราจะกลับมาเรียนคริสตศาสนธรรมในโอกาสปีแห่งความเชื่อ
วันนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะย้ำเน้นสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์. เราเริ่มด้วยสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นหัวใจแห่งปีพิธีกรรมทั้งหมด-ระหว่างที่เราร่วมเดินทางกับพระเยซูเจ้าในพระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพ พร้อมด้วยอาทิตย์ใบลาน.
สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสถามว่า “แต่จะมีความหมายอะไรสำหรับเราเพื่อดำเนินชีวิตในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ การติดตามพระเยซูเจ้าในการเดินทางสู่เขากัลวารีโอ สู่กางเขนและการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์.ในการเริ่มพระพันธกิจบนโลกนี้ พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินตามถนนของแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์. พระองค์ตรัสเรียกสามัญชน 12 คนให้อยู่กับพระองค์ ด้วยการร่วมเส้นทางของพระองค์และสืบทอดพันธกิจของพระองค์... พระองค์ตรัสกับทุกคน โดยปราศจากความแตกต่าง: ผู้ยิ่งใหญ่และผู้ต่ำต้อย...ผู้มีอำนาจและคนอ่อนแอ. พระองค์ทรงนำพระเมตตาและการอภัยของพระเจ้า. พระองค์ทรงรักษา ทรงปลอบโยนและความเข้าใจ. พระองค์ประทานความหวัง. พระองค์ได้ทรงนำการประทับอยู่ของพระเจ้ามายังทุกคน เป็นพระเจ้าที่ทรงใส่พระทัยชายหญิงทุกคนเยี่ยงบิดามารดาที่ดีที่ใส่ใจลูกๆของตน”
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงย้ำเน้นว่า “พระเจ้าไม่ได้ทรงรอคอยเราให้กลับไปหาพระองค์. แต่เป็นพระองค์ที่เสด็จมาหาเรา... พระเยซูเจ้าทรงกระทำให้สภาพความเป็นจริงประจำวันของสามัญชนที่สุดเป็นจริงขึ้นมา...พระองค์ทรงกันแสงเมื่อพระองค์ทอดพระเนตรมาร์ธาและมารีย์ที่ทนทุกข์ที่ลาซาลัสพี่ชายของพวกเขาสิ้นใจ... พระองค์ยังประสบกับการทรยศหักหลังของเพื่อน. ในพระคริสตเจ้า, พระเจ้าประทานความมั่นใจแก่เรา คือพระองค์ประทับอยู่กับเราในท่ามกลางเรา.... พระเยซูเจ้าไม่มีบ้านเพราะบ้านของพระองค์คือประชาชน เรานั่นเอง. พระพันธกิจของพระองค์คือการเปิดประตูสู่พระเจ้าสำหรับทุกคน เพื่อเป็นที่อยู่ของความรักของพระเจ้า”

“ระหว่างสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เรากำลังอยู่ในจุดสำคัญสูงสุดของ...แผนการแห่งความรักนี้ที่ดำเนินอยู่ตลอดประวัติศาสตร์แห่งสัมพันธภาพระหว่างพระเจ้ากับมนุษยชาติ. พระเยซูเจ้าเสด็จเข้าสู่กรุงเยรูซาเล็มซึ่งเป็นก้าวย่างสุดท้ายซึ่งสรุปการดำเนินชีวิตทั้งหมดของพระองค์ในสิ่งที่พระองค์ประทานพระองค์เองอย่างครบถ้วนแม้กระทั่งชีวิตของพระองค์. ในมื้ออาหารสุดท้าย พร้อมกับพระสหายของพระองค์ พระองค์ทรงแบ่งปันขนมปังและร่วมดื่มจากถ้วยกาลิกส์เดียวกัน “เพื่อเรา”. พระบุตรของพระเจ้าถวายพระองค์เองเพื่อเรา พระบุตรของพระเจ้าถวายพระองค์แก่เรา โดยนำพระกายและพระโลหิตไว้ในมือของเรา เพื่อให้อยู่กับเราเสมอ...และในสวนมะกอก ขณะที่ทรงถูกทดลองต่อหน้าปีลาต พระองค์ไม่ทรงต่อต้านแต่ประการใด, แต่ประทานพระองค์เอง”
“พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงดำเนินพระชนมชีพตามความรักนี้ที่นำไปสู่การสละพระชนมชีพโดยไม่โต้ตอบแต่ประการใดหรือตามชตากรรมถึงตาย. แน่นอนว่า พระองค์ไม่ทรงซ่อนความรู้สึกสับสนที่ลึกล้ำของพระองค์ขณะทรงเผชิญกับมรณกรรมที่เต็มไปด้วยความรุนแรง แต่พระองค์ถวายพระองค์เองแด่พระบิดาด้วยความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม...เพื่อแสดงความรักที่มีต่อเรา. จนเราแต่ละคนสามารถพูดว่า ‘พระเยซูเจ้าทรงรักฉันและประทานพระองค์เองแก่ฉัน’” “ข้อความนี้มีความหมายอะไรสำหรับเรา หมายความว่า เส้นทางนี้เป็นเส้นทางของข้าพเจ้า  เป็นของพวกท่านด้วย  เป็นเส้นทางของเราด้วย.

การดำเนินชีวิตในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการติดตามพระเยซูเจ้า ไม่เพียงแต่ด้วยหัวใจที่เร้าใจเท่านั้น แต่ยัง หมายถึงการเรียนรู้ที่จะออกจากตัวเอง...เพื่อไปพบปะกับผู้อื่น เพื่อไปสู่ผู้ที่อยู่ชายขอบต่างๆของการดำเนินชีวิตของเรา เพื่อเริ่มก้าวแรกไปหาพี่น้องชายหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่อยู่ไกลที่สุดจากเรา  ผู้ที่ถูกลืมซึ่งต้องการความเข้าใจ ความบรรเทาใจ และความช่วยเหลือ”

การดำเนินชีวิตในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์มักลงลึกถึงตรรกะของพระเจ้า เข้าสู่ตรรกะของกางเขน ซึ่งไม่ใช่ตรรกะแรกและสำคัญที่สุดแห่งความเศร้าโศกและความตาย แต่เป็นตรรกะแห่งความรักและการมอบตัวเองที่นำมาซึ่งชีวิต. เป็นการเข้าถึงตรรกะแห่งพระวรสาร. การติดตาม การเป็นเพื่อนร่วมทางกับพระคริสตเจ้า การอยู่กับพระองค์เมื่อพระองค์ทรงบัญชาว่า “จงออกจาก” ตัวของเราเอง ออกจากวิธีดำเนินชีวิตที่น่าเบื่อและเคยชิมาสู่การเดินชีวิตตามความเชื่อ ออกจากการประจญให้ปิดล๊อคตัวเองในโครงการที่วิ่งไปหาการปิดประสบการณ์ของการเนรมิตสร้างของพระเจ้า. พระเจ้าทรงออกจากพระองค์ท่านเอง เพื่อเสด็จเข้ามาประทับท่ามกลางเรา...เพื่อประทานพระเมตตาแก่เรา...ที่ช่วยให้รอดและให้ความหวัง. และถ้าเราปรารถนาจะติดตามพระองค์และอยู่กับพระองค์ ไม่อาจพอใจกับคอกแกะกับแกะ 99 ตัว. เราต้อง “ออกไป” เพื่อตามหาแกะที่หายไป ที่อยู่ไกลที่สุดกับพระองค์”
“บ่อยครั้ง เราเริ่มสวดภาวนา การไม่ได้ไปร่วมพิธีมิสซาบูชาวันอาทิตย์บ่อยครั้ง การทำกิจเมตตา แต่เราเราไม่มีความกล้าหาญที่ “ออกไป” และนำพระคริสตเจ้ามา. เราเป็นคนเล็กน้อยเยี่ยงนักบุญ
เปโตร. ทันทีที่พระเยซูเจ้าตรัสเกี่ยวกับพระมหาทรมาน มรณกรรมและการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ด้วยการพลีพระชนมชีพและรักทุกคน อัครสาวกองค์หนึ่งนำพระองค์แยกออกไปทูลทัดทานพระองค์. พระเยซูเจ้ากำลังตรัสสิ่งใดที่กระตุ้นแผนการของพระองค์ ซึ่งดูไม่เป็นที่ยอมรับ, ความมั่นใจที่ปลอดภัยที่ปลอดภัยที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น ความคิดเกี่ยวกับพระผู้ไถ่ที่กำลังประสบกับยุ่งยาก. และพระเยซูเจ้าตรัสถ้อยคำรุนแรงแห่งพระวรสารกับ
เปโตร พระเยซูเจ้ากับเปโตรว่า “เจ้าซาตาน ถอยไปข้างหลัง อย่าขัดขวาง     เจ้าไม่คิดอย่างพระเจ้า แต่คิดอย่างมนุษย์"

“พระเจ้าทรงดำริอย่างมีเมตตารัก. พระเจ้าทรงดำริเหมือนบิดาที่รอคอยการกลับมาของบุตรและออกไปพบเขา เห็นบุตรชายที่กำลังอยู่ไกล ...เป็นเครื่องแสดงว่าเขากำลังรอคอยบุตรของเขาทุกวันจากระเบียงบ้าน. พระเจ้าทรงดำริเหมือนชาวซามาเรียที่ไม่เดินผ่านชายโชคร้าย สงสารเขาหรือเมินหน้าหนี แต่กลับช่วยชาวยิวโดยไม่ขอสิ่งใดตอบแทน โดยไม่ถามว่าเขาเป็นชาวยิวหรือ
ชาวซามาเรีย ร่ำรวยหรือยากจน”

“สรุปแล้ว สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์คือเวลาแห่งพระหรรษทานที่องค์พระผู้เป็นเจ้าบันดาลให้เราเปิดประตูใจของชีวิตของเรา ของเขตวัดของเรา-มีเขตวัดหลายแห่งที่ปิดตายซึ่งเป็นเรื่องน่าอาย- เกี่ยวกับขบวนการและองค์กรต่างๆ ของเรา, เพื่อ “ออกไป” และพบผู้อื่น  เพื่อดึงพวกเขามาใกล้และนำความสว่างและความชื่นชมยินดีแห่งความเชื่อแก่พวกเขา. จงออกไปด้วยความรักและความอ่อนโยนของพระเจ้าเสมอ”