การโยกย้ายหน้าที่ความรับผิดชอบบรรดาสามเณรให้แก่สมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์

นครรัฐวาติกัน, 25 มกราคม 2013 (VIS) –

    สถาบันเพื่อศาสนบริการ ('Ministrorum Institutio') เป็นชื่อของคำอธิบายโดยย่อ (Proprio Motu) โดยที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงปรับเปลี่ยนสมณธรรมนูญชื่อ “พระชุมพาบาลแสนดี” Apostolic Constitution 'Pastor bonus' (สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่สอง, 1988) และการถ่ายโอนผู้บริหารองค์กรสำหรับสามเณรจากสมณกระทรวงเพื่อการศึกษามาเป็นสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์ดังข้อความที่ตัดตอนมาจากเอกสาร

    “บรรดาปิตาจารย์ในสภาสังคายนาวาติกันที่สองเกี่ยวกับการอบรมศาสนบริกรผู้ศักดิ์สิทธิ์ ได้เขียนว่า “จงตระหนักอย่างเต็มที่ว่า การฟื้นฟูที่น่าพึงปรารถนาของพระศาสนจักรทั้งหมดขึ้นอยู่กับขอบเขตของศาสนบริการของพระสงฆ์ (การประชุมสังคายนาฯ) ประกาศความสำคัญอันยิ่งยวดของการฝึกอบรมพระสงฆ์” ในบริบทนี้ กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 232 ประกาศว่าเป็น “หน้าที่และสิทธิเฉพาะและที่ถูกต้อง” เกี่ยวกับการอบรมของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสนบริกรผู้ศักดิ์สิทธิ์ ตามกฎระเบียบที่กำหนดในสามเณราลัย – เป็นของพระศาสนจักร”   

    "หน่วยงานแรกของลักษณะสากลต้องเป็นพื้นฐาน การปกครองดูแลและการบริหารงานของสามเณราลัย.. สมณกระทรวงเพื่อสามเณราลัย (Congregatio Seminariorum) เป็นสถาบันที่สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13 ทรงกำหนดไว้ในสมณธรรมนูญ 'Creditae Nobis' (1725) ช่วงเวลาที่องค์กรหยุดทำการและสามเณราลัยได้รับการดูแลจากสันตะสำนักผ่านสมณกระทรวงแห่งสภา (ซึ่งปัจจุบันนี้คือสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์) หรือผ่านทางสมณกระทรวงสำหรับพระสังฆราชและคณะนักพรต และตั้งแต่ปี 1906 หน่วยงานประการหลังดูแลเท่านั้น"

    "ด้วยสังฆธรรมนูญ 'Sapienti Consilio' (1908), สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 10 ทรงสงวนอำนาจดูแลสามเณราลัยไว้กับสมณกระทรวงเพื่อสมณสงฆ์ผู้ใหญ่...อาศัยบทย่อคำสั่งของพระสันตะปาปา 'Seminaria clericorum' (1915) สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่สิบห้า ... ทรงสร้างหน่วยงานบริหารชั้นสูงใหม่ชื่อ 'Sacra Congregatio de Seminariis et Studiorum Universitatibus'. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงอธิบายการตัดสินพระทัยของพระองค์ว่าเกี่ยวกับปัญหาที่เพิ่มขึ้นและความสำคัญของหน้าที่การงาน...หน่วยบริหารชั้นสูงใหม่นี้...ถูกปรับใช้อาศัยกฎหมายพระศาสนจักรในปี 1917."

    “สิ่งที่น่าสังเกตคือ ระหว่างการจัดทำร่างของกฎหมายมาตราใหม่ มีการโต้เถียงเรื่องความเป็นไปได้ของการสภาพเดิมไว้ แต่ในที่สุด ดูเหมือนเหมาะสมยิ่งกว่าที่จะเสนอบรรทัดฐานทั้งหมดให้เป็นบทนำต่อส่วนที่เกี่ยวกับผู้ได้รับศีลบวช. ดังนั้น กฎระเบียบและคำสั่งต่างๆที่รวมถึงสามเณราลัย...เหมาะสมที่ใช้ชื่อ “การอบรมผู้ได้รับศีลบวช”...การประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เตือนอีกว่า “สามเณราลัยสำหรับเณรใหญ่มีความจำเป็นสำหรับการอบรมพระสงฆ์”... ดังนั้น ตามการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 และกฎหมายพระศาสนจักรปี 1983 นั้น, สามเณราลัยต้องรวมถึง “การอบรมผู้ได้รับศีลบวช” ต้องเชื่อใจได้และมีประสิทธิภาพ ต้องมีการอบรมถาวรเป็นที่รับรองด้วยการอบรมสามเณร...”
    “ตามที่บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ผู้ที่ข้าพเจ้าสืบตำแหน่งมา พระองค์ทรงยืนยันในพระดำรัสเตือนชื่อ 'Pastores dabo Vobis' (1992) ... 'สิ่งสำคัญเฉพาะที่น่าตระหนักถึงและพึงเคารพคือการเชื่อมโยงภายในระหว่างการอบรมก่อนรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์และการอบรมหลังการรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์. ควรมีการหยุดพักในความต่อเนื่องของการอบรมทั้งสองขั้นตอนนี้ หรือหนักขึ้นอีกที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างการอบรม 2 ขั้นตอนนี้ จะมีเสียงสะท้อนที่ส่งผลโดยตรงและรุนแรงเกี่ยวกับงานอภิบาลและเอกภาพฉันพี่น้องท่ามกลางพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสงฆ์ที่อยู่ในกลุ่มอายุที่แตกต่างกันไหม.” ดังนั้น ข้าพเจ้าเห็นโอกาสที่จะให้มีการส่งเสริมและธรรมาภิบาลทุกสิ่งที่เกี่ยวกับการอบรม ชีวิตและศาสนบริการของพระสงฆ์และสังฆานุกรต่อสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์: จากงานอภิบาลสำหรับกระแสเรียกและการเลือกสรรผู้สมัครรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์-รวมทั้งการอบรมด้านการพัฒนาส่วนบุคคล งานอภิบาล ด้านข้อความเชื่อ ชีวิตจิตและในสามเณราลัยและศูนย์พิเศษเพื่อสังฆานุกรแบบถาวร-ไปสู่การอบรมอย่างถาวร-รวมถึงสภาพชีวิตและกระบวนการต่างๆเพื่อทำศาสนบริการ การจัดสวัสดิการและการช่วยเหลือสังคมของพวกเขา