สมเด็จพระสันตะปาปา: แนวคิดเอกเทวนิยมไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง


นครรัฐวาติกัน 7 ธันวาคม 2012 (VIS)


    วันนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16  ทรงต้อนรับผู้เข้าเฝ้า ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการนานาชาติที่จะมาร่วมประชุมกัน. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงปลาบปลื้มพระทัยสำหรับสารเพื่อปีแห่งความเชื่อที่คณะกรรมาธิการจัดเตรียมขึ้น  ซึ่ง "แสดงให้เห็นถึงวิธีพิเศษในสิ่งที่นักเทววิทยา รับใช้ต่อความจริงของความเชื่ออย่างซื่อสัตย์ ช่วยร่วมกระตุ้นให้มีการประกาศพระวรสาร"

    สารนี้เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่พัฒนาอย่างเต็มที่ในเอกสาร "เทววิทยาในปัจจุบัน: มุมมอง หลักการและมาตรการ”  ซึ่งรวบรวม  "รหัสต้นกำเนิดแห่งเทววิทยาคาทอลิก หรือ หลักการที่กำหนดอัตลักษณ์ของพระศาสนจักรและเป็นผลที่ตามมา รับรองความเป็นหนึ่งเดียวกันในการแสดงออกถึงความหลากหลาย... ในบริบททางวัฒนธรรมซึ่งบางคนถูกประจญให้ตัดทอนเทววิทยาในด้านวิชาการที่เชื่อมโยงที่แท้จริงกับความเชื่อ หรือจะไม่มีส่วนในมุมมองระดับมืออาชีพของวิชาเทววิทยา เป็นความเสี่ยงให้เกิดความสับสนกับศาสตร์ต่างๆทางศาสนา เอกสารของท่านเป็นเครื่องเตือนที่ถูกเวลา  ตรงตามวิชาชีพของท่าน สมเหตุผล และอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งรับรองวิสัยทัศน์ที่กว้างและสมบูรณ์ของเหตุผลของมนุษย์ "

    สมเด็จพระสันตะปาปากล่าวถึงบรรทัดฐานของเทววิทยา ควรสงวน “ความเชื่อที่เป็นเอกฉันท์” สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สองยืนยันบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและไม่สามารถมาแทนอำนาจการสั่งสอนของพระศาสนจักรได้ ที่เน้นว่า ประชากรของพระเจ้าโดยรวมมีส่วนร่วมในบทบาทเชิงประกาศกของพระคริสตเจ้า ...ของขวัญ ซึ่งเป็น “ความเชื่อที่เป็นเอกฉันท์” อยู่ในผู้มีความเชื่อแบบสัญชาติญาณเหนือธรรมชาติที่มีชีวิตชีวาด้วยความเชื่อเอง   มันเป็นบรรทัดฐานที่ให้ความมั่นใจว่า ความจริงที่แน่ชัดเป็นคลังทรงชีวิตของธรรมประเพณีของบรรดาอัครสาวก. ยังเป็นคุณค่าที่เกิดผลขณะที่พระจิตเจ้าไม่เคยทรงหยุดเกี่ยวกับพระศาสนจักรและทรงนำทางไปสู่ความสมบูรณ์ของความจริง. อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เป็นเรื่องสำคัญที่จะแยกประเภทของบรรทัดฐานที่ให้ “ความเชื่อที่เป็นเอกฉันท์” ออกจากการลอกเลียนแบบ.  สิ่งนี้ไม่ได้เป็นรูปแบบของความคิดเห็นของสาธารณชนในพระศาสนจักร และไม่อาจคิดที่จะอ้างอิงถึงสิ่งนี้ เพื่อท้าทายคำสอนของอำนาจการสอนของพระศาสนจักร เนื่องจาก “ความเชื่อที่เป็นเอกฉันท์” ไม่อาจพัฒนาเกินขอบเขตที่เขามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในชีวิตพระศาสนจักร, และดังนั้น  ต้องติดยึดกับอำนาจการสอนของพระศาสนจักรอย่างมีความรับผิดชอบ

    “ปัจจุบันนี้ ความหมายเหนือธรรมชาติของความเชื่อของผู้มีความเชื่อ นำไปสู่ปฏิกิริยาที่กระตือรือร้น พวกเขาต่อต้านอคติในแต่ละศาสนา  และโดยเฉพาะในศาสนาแบบเอกเทวนิยมเฉพาะ มักจะใช้ความรุนแรงเป็นพื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบทที่พวกเขาอ้างถึงความจริงสากล.  บางคนยืนหยัดว่า เป็นเพียง ‘พหุเทวนิยมเกี่ยวกับคุณค่าต่างๆ’ จะรับรองขันติธรรมและความสงบสุขของพลเมืองโดยทำให้สอดคล้องกับจิตตารมณ์แห่งสังคมประชาธิปไตยแบบพหุนิยม .... ในแง่หนึ่ง สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ คือ ความเชื่อในพระเจ้าเดียว,พระผู้สร้างฟ้าสวรรค์และ แผ่นดิน ตอบสนองการไตร่ตรองด้านอภิปรัชญา ซึ่งถูกทำให้อ่อนแรงลง แต่จะถูกทำให้แข็งแรงและลึกซึ้งขึ้นด้วยวิวรณ์ของธรรมล้ำลึกแห่งพระเจ้าเที่ยงแท้.  อีกแง่หนึ่ง จำเป็นที่จะเน้นรูปแบบที่วิวรณ์ที่ชัดเจนของธรรมล้ำลึกพระเจ้าเที่ยงแท้ ในพระชนมชีพและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสตเจ้า, นำไปสู่กางเขนเหมือน ‘แกะที่นำไปถูกประหาร’. องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเสนอให้ปฏิเสธรูปแบบความเกลียดชังหรือความรุนแรงแห่งความเป็นเอกสูงสุดของความรักบริสุทธิ์ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน. ขณะที่ตลอดประวัติศาสตร์ มีลักษณะนั้น หรือ จริงๆแล้ว มีรูปแบบของความรุนแรงที่ปฏิบัติการในนามของพระเจ้า, ความมจริง สิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับแนวคิดเอกเทวนิยมเลย แต่มีสาเหตุทางประวัติศาสตร์มากกว่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นความผิดพลาดของมนุษย์. เป็นการลืมพระเจ้าที่ถูกปลูกฝังในสังคมมนุษย์ในรูปแบบของแนวคิดสัมพัทธนิยม ซึ่งก่อให้เกิดความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. ครั้งหนึ่ง เป็นไปได้ที่คนเพิกเฉยรูปแบบของความจริงเชิงวัตถุวิสัย, ไม่อาจทำเสวนาได้เลย เพราะมุ่งใช้ความรุนแรง, ไม่ว่าจะมีการประกาศหรือเป็นภาวะซ่อนเร้นก็ตาม, กลายเป็นกฎที่กำลังครอบครองความสัมพันธ์ของมนุษย์.  ถ้าปราศจากการเปิดรับผู้ที่อยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำให้เราพบคำตอบสำหรับคำถามของเราได้ เกี่ยวกับความหมายของชีวิตและวิธีการอยู่กับในสมัยนิยมด้านจริยธรรม, คนเราก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ด้วยความยุติธรรมหรือผูกมัดตนกับเพื่อสันติภาพ "

    "ถ้าความร้าวฉานในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้านำมาซึ่งความไม่สมดุลที่ลึกซึ้งภายในมนุษยชาติเอง, การคืนดีกับพระเจ้าที่เกิดขึ้นโดยพระคริสตเจ้าบน ไม้กางเขน, 'สันติภาพของเรา’ เป็นแหล่งพื้นฐานของความเป็นหนึ่งเดียวกันและความเป็นพี่น้อง"

    สมเด็จพระสันตะปาปายังตรัสอีกว่า  "สิ่งนี้เชื่อมโยงกับการอภิปรายเกี่ยวกับคำสอนเรื่องสังคมของพระศาสนจักรภายในคำสอนเกี่ยวกับความเชื่อโดยรวม. เป็นการยืนยันว่า คำสอนเรื่องสังคมไม่ใช่ส่วนเกินจากภายนอก แต่ปรารถนาจะมีส่วนร่วมในปรัชญาสังคมอันเกี่ยวกับสุขภาพดี, ควรคำนึงถึงหลักการพื้นฐานจากแหล่งเดียวกันคือ ความเชื่อนั่นเอง. หลักความเชื่อนี้ทำให้มีประสิทธิภาพในสถานการณ์ทางสังคมที่หลากหลาย, เป็นพระบัญญัติใหม่ที่องค์พระเยซูเจ้าประทานแก่เรา: 'ให้ท่านทั้งหลายรักกันเหมือนดังที่เรารักท่าน’ (ยน 15.12)