ศาสนาเตือนสังคมเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางจริยธรรมเชิงวัตถุวิสัย

นครวาติกันที่ 15 ตุลาคม 2012 (VIS)

    วันที่  14 ตุลาคม 2012 , คุณพ่อ Miguel Angel Ayuso Guixot M.C.C.J. เลขาธิการของสมณกระทรวงเพื่อศาสนสัมพันธ์ กล่าวถึงการประชุมระดับโลกที่อิสตันบูล ด้วยหัวข้อ  "ความยุติธรรมและการสร้างระเบียบโลกใหม่". จะขอยกถ้อยคำที่ท่านกล่าวในระหว่างการประชุมซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 ตุลาคม 2012, คุณพ่ออายูโซ เน้นย้ำว่า ความยุติธรรมและเสรีภาพทางศาสนาก่อให้เกิดสันติภาพ, และศาสนามีบทบาทที่จำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมสันติภาพและความยุติธรรมในสังคมโลก

    คุณพ่อกล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่า  "ศาสนามีบทบาทในการแปรสภาพสังคม. การแปรสภาพนั้นต้องมีส่วนร่วมในโลกโมเด็มที่เผชิญกับความซับซ้อน. แนวคิดรวบยอด เช่น 'ยุติธรรม' และ 'ความยุติธรรมทางสังคม' ล้วนเป็นส่วนบูรณาการของการแปรสภาพ. ดังนั้น ให้เราถามตัวเองว่า ศาสนามีส่วนอะไรบ้างต่อการแปรสภาพสังคมในระดับชาติเกี่ยวกับ 'ความยุติธรรม' และ 'ความยุติธรรมทางสังคม'?.  ความยุติธรรมเป็นคุณลักษณะของพระเจ้าและแน่นอนว่าคำสอนทางศาสนาก่อให้เกิดการไตร่ตรองเกี่ยวกับระเบียบที่ถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างๆ อีกประการหนึ่ง เป็นเรื่องของความยุติธรรมทางสังคม. อย่างไรก็ตาม ธรรมประเพณีคาทอลิกยังยืนยันว่า ความยุติธรรมสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีใช้เหตุผลของมนุษย์ สำหรับมนุษย์ชายหญิงที่มีน้ำใจดี ทั้งผู้ที่นับถือศาสนาและผู้ไม่นับถือศาสนา"

    “ผู้ที่นับถือศาสนาและผู้ที่ไม่นับถือศาสนาสามารถตระหนักถึงศักดิ์ศรีที่ได้มาแต่กำเนิดของบุคคลมนุษย์ และเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นศักดิ์ศรีของสิทธิของแต่ละคนที่โอนให้ผู้อื่นไม่ได้ เป็นการปกป้องความยุติธรรมที่เป็นลักษณะวัตถุวิสัย

    ...สิทธิเหล่านี้ที่มีมาก่อนและเป็นอิสระจากรัฐ นอกจากนี้ ยังเป็นมาตรการของความยุติธรรมของรัฐคือ ขอบเขตที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนและปกป้องสิทธิที่มีมาก่อน เพราะความยุติธรรมต้องการให้ทุกคนใช้สิทธิของพวกเขาอย่างเต็มที่...เมื่อรัฐล้มเหลวในการบริหารจัดการเรื่องความยุติธรรมแล้ว, นั่นคือ รัฐกระทำการที่อยุติธรรมแล้ว รัฐก็ไม่มีสิทธิอำนาจหรือชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไป. สิ่งนี้มีนัยว่า รัฐมีความสำคัญเป็นรองจากการตัดสินพิจารณาคดี  รัฐไม่มีอำนาจสูงสุด ความจริงแล้ว รัฐต้องพิจารณาใคร่ครวญเรื่องนี้. ดังนั้น ปัญหาของเราคือรัฐต้องคำนึงถึงใครหรือเรื่องอะไร เพื่อให้มั่นใจว่ากระทำการอย่างยุติธรรม ปัญหาไม่ใช่เรื่องการเมืองแต่เป็นเรื่องศีลธรรม ถึงแม้ว่า คำตอบจะเป็นข้อเลือกทางการเมืองก็ตาม”.

    "เนื่องจากปัญหาสุดท้ายเป็นเรื่องศีลธรรมแท้ๆ ดังนั้น ต้องมีเครื่องหมายแสดงคุณภาพสูงของสังคมที่ชอบธรรมและในภาคพลเมืองคือ มีพื้นที่ที่ปกป้องสิทธิและความชอบธรรม ที่เอื้อต่อศาสนา ซึ่งเป็นส่วนที่มีเอกลักษณ์ในการเป็นปากเสียงของผู้ที่ไม่มีเสียง, เป็นเสียงสำหรับผู้ถูกกดขี่ ผู้ถูกเบียดเบียน เป็นเสียงเยี่ยงประกาศกในการเรียกร้องให้ทุกคนสร้างสันติและความยุติธรรม. ศาสนานำมาซึ่งมโนธรรมของสังคมที่กระทำเพื่อความดีส่วนร่วมโดยแท้. ดังนั้น ศาสนามีบทบาทในการโต้วาทีทางการเมือง ไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาทางการเมืองที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอยู่นอกสมรรถนะของศาสนา แต่ต้องเตือนสังคมเรื่องบรรทัดฐานทางศีลธรรมตามพื้นฐานของความยุติธรรมและสังคมที่ชอบธรรม"