การท่องเที่ยวและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน: การพัฒนาการใช้พลังงานที่ยั่งยืน


นครรัฐวาติกัน 25 กรกฎาคม 2012 (VIS)


สารสำหรับวันท่องเที่ยวโลกที่ลงนามโดย พระคาร์ดินัล Antonio Maria Veglio และ   พระอัครสังฆราช  Joseph Kalathiparambil ประธานและเลขาธิการของสมณกระทรวงตามลำดับ เพื่อเตือนให้ระลึกถึงข้อเท็จจริงว่า องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization (WTO) ส่งเสริมให้มีวันท่องเที่ยวโลกเป็นประจำทุกปี. “สันตะสำนักร่วมเป็นภาคีกับความคิดริเริ่มนี้ตั้งแต่แรกทีเดียว. พิจารณาว่า เป็นโอกาสที่จะเสวนากับโลกพลเมืองและนำเสนอการมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมโดยมีพระวรสารเป็นพื้น และยังเป็นโอกาสที่จะทำให้พระศาสนจักรทั้งหมดตื่นตัวมาสนใจเกี่ยวกับความสำคัญของเรื่องนี้จากจุดยืนด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม โดยเฉพาะอย่าง ในบริบทของการประกาศพระวรสาร”

“เราใช้หัวข้อที่ทางองค์การท่องเที่ยวโลกนำเสนอมา “การท่องเที่ยวและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน: การพัฒนาการใช้พลังงานที่ยั่งยืน เขียนสารเป็นภาษาอังกฤษ. “กลมกลืนกับปีแห่งพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน” ที่สหประชาชาติประกาศด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายความคิด “ความจำเป็นต่อการปรับปรุงการเข้าถึงการบริการและแหล่งพลังงานที่สังคมยอมรับว่ารักษาสิ่งแวดล้อม ดำเนินชีวิตอย่างประหยัด น่าเชื่อถือ เพื่อเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน”

การท่องเที่ยวเติบโตในจังหวะที่สำคัญในทศวรรษที่ผ่านมา. ตามสถิติขององค์การท่องเที่ยวโลก เห็นล่วงหน้าว่า ระหว่างปีที่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ จำนวนโควต้านักท่องเที่ยวจะมีถึงหนึ่งพันล้านคน ซึ่งจะเป็นสองพันล้านคนในปี 2030. นั่นหมายความว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวท้องถิ่น. การเติบโตนี้มีผลบวก ที่สามารถนำไปสู่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง ในบรรดากปัจจัยอื่นๆ ต่อการบริโภคแหล่งพลังงานที่เลยเถิด  เป็นผู้ก่อให้เกิดมลภาวะและของเสีย

เราจะทำให้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ “การพัฒนาแบบยั่งยืน” ฝังแน่นในสังคมของเราและในภาคส่วนด้านการท่องเที่ยว ต้องไม่ใช่เรื่องที่ไม่มีความสำคัญอีกต่อไป. เมื่อเรากล่าวถึง "แนวคิดของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”, เมื่อเรากล่าวเกี่ยวกับ' การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, 'เราไม่ได้หมายถึงวิธีเหล่านี้เท่านั้น เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เที่ยวชายทะเลหรือเพื่อผจญภัย.  ทุกรูปแบบและการแสดงออกของการท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและไม่สามารถเป็นอย่างอื่น. ด้วยวิธีนี้ ต้องพิจารณาปัญหาพลังงานด้วย เนื่องจากมีสมมติฐานที่ผิดๆที่จะคิดว่า 'นำมาปริมาณของพลังงานและทรัพยากรที่ไม่จำกัดนำมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว, และสามารถกำจัดผลเสียของการใช้ประโยชน์จากระเบียบธรรมชาติได้อย่างง่ายดาย "

"ในเรื่องนี้ สมณกระทรวงเพื่อการอภิบาลผู้อพยพและผู้ท่องเที่ยวปรารถนาจะมีส่วนร่วม ควรเชื่อมั่นว่า “พระศาสนจักรมีความรับผิดชอบต่อการเนรมิตสร้างและต้องเลือกที่จะยืนยันความรับผิดชอบในวงสมาคม'. ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราที่จะนำเสนอทางออกด้านเทคนิค แต่เพื่อแสดงว่าการพัฒนาที่ไม่สามารถลดลงไปเพียงเทคนิคตัวแปรเสริมด้านการเมืองหรือทางเศรษฐกิจ. เราปรารถนาที่จะร่วมการพัฒนานี้ด้วยแนวทางจริยธรรมที่เน้นข้อเท็จจริงที่ว่าการเจริญเติบโตทั้งหมดจะต้องอยู่ที่การให้บริการมนุษย์และความดีของส่วนรวม"

"เราไม่สามารถแยกหัวข้อระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมจากความกังวลระบบนิเวศของมนุษย์ที่เหมาะสมที่จะใส่ใจการพัฒนาเชิงบูรณาการของมนุษย์. ในทางเดียวกัน เราไม่สามารถแยกมุมมองของเราเกี่ยวกับมนุษย์และธรรมชาติจากพันธะที่ต้องรวมทั้งสองกับพระผู้สร้าง. พระเจ้าได้ทรงมอบหมายให้มนุษย์ดูแลสิ่งสร้างไปจนถึงมนุษย์อย่างดี. ประการแรก เป็นความพยายามด้านการศึกษามีความสิ่งสำคัญในการส่งเสริม “การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพในความคิดที่สามารถนำไปสู่การยอมรับของวิถีชีวิตแบบใหม่ '.  การกลับใจ 'ช่วยให้เราเชี่ยวชาญมากขึ้นในศิลปะของการอยู่ร่วมกันที่เคารพความเกี่ยวโยงระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ'

"เป็นการถูกต้องที่นิสัยประจำวันของเรากำลังเปลี่ยนแปลงและยังคำนึงถึงระบบนิเวศ. อย่างไรก็ตาม เป็นจริงด้วยว่า ความเสี่ยงคือ การลืมแรงจูงใจเหล่านี้ในช่วงวันหยุดในการค้นหาความสะดวกสบายบางอย่างเพื่อที่เราเชื่อว่า เรามีสิทธิ์โดยไม่ต้องสะท้อนให้เห็นถึงผลที่ตามมา.

"เราจำเป็นต้องปลูกฝังจริยธรรมของความรับผิดชอบและความรอบคอบ และเพื่อถามเราเองเกี่ยวกับผลกระทบและผลที่ตามมาของการกระทำของเรา. ในเรื่องนี้, สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า:. 'วิธีที่มนุษยชาติปฏิบัติต่ออิทธิพลด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อวิธีการปฏิบัติต่อตัวเองและในทางกลับกัน. สิ่งนี้ชวนให้สังคมร่วมสมัยเพื่อทบทวนรูปแบบชีวิตอย่างจริงจัง,ซึ่งเกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลก เพราะเป็นแนวโน้มสู่แนวคิดสุขนิยมและบริโภคนิยม,โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมาที่เป็นอันตรายของแนวคิดนี้'. ในประเด็นนี้ มีความสำคัญที่จะส่งเสริมให้ทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวพิจารณาผลสะท้อนกลับของการตัดสินใจและทัศนคติของพวกเขา. ด้วยวิธีเดียวกันนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะ “ส่งเสริมการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติมากขึ้นในขณะที่ลดการใช้พลังงานและปรับปรุงใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของพวกเขา '

"ความคิดพื้นฐานเหล่านี้จำเป็นต้องมีการตีความไปสู่ภาคปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม.  ดังนั้น พร้อมกับวัตถุประสงค์ในการทำให้สถานที่ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน,งานริเริ่มทั้งหมดที่เป็นพลังงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การส่งเสริมให้ใช้พลังงานที่นำมาใช้อีก เพื่อส่งเสริมการประหยัดทรัพยากรและหลีกเลี่ยงกสารปนเปื้อน. เรื่องนี้เป็นพื้นฐานสำหรับโครงสร้างการท่องเที่ยวของพระศาสนจักรและข้อเสนอวันหยุดพักผ่อนพระศาสนจักรส่งเสริมซึ่งเป็นลักษณะโดดเด่นกว่าสิ่งอื่น ๆ ด้วยความเคารพต่อสภาพแวดล้อม. ภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ( ธุรกิจ,ชุมชนท้องถิ่น,และรัฐบาลและนักท่องเที่ยว) จะต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเพื่อให้บรรลุรูปแบบยั่งยืนของการท่องเที่ยว. การทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่จำเป็น

"คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรเตือนเราว่า “การดูแลสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับมนุษยชาติทั้งหมด.เป็นเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันและทั่วโลกที่เป็นความดีส่วนรวม”. ความดีที่มนุษย์ไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่เป็น 'ผู้รับใช้”, ความดีที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้พวกเขบริหารจัดการมันอย่างถูกต้อง

"สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ตรัสว่า “การประกาศพระวรสารแบบใหม่ซึ่งเรียกร้องทุกคน ให้จดจำและใช้ประโยชน์จากโอกาสมากมายที่การท่องเที่ยวนำเสนอแก่เราให้นำพระคริสตเจ้าที่เป็นการตอบสนองสูงสุดต่อคำถามพื้นฐาน' . ดังนั้น เราจึงขอเชิญชวนทุกคนให้ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการเคารพและมีความรับผิดชอบเพื่อใช้พัฒนาศักยภาพของตน, ด้วยความแน่ใจว่า ในใคร่ครวญความงามของธรรมชาติและประชาชาติที่เราสามารถประสบความสำเร็จในการเผชิญหน้ากับพระเจ้า " .