แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

สมณสาส์น “ขอคำสรรเสริญจงมีแด่พระองค์”
LAUDATO SII : ว่าด้วยการเอาใจใส่ดูแลบ้านส่วนรวมของเรา
laudato sii 1สมณสาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสมุ่งประเด็นไปที่ “ระบบนิเวศที่สมบูรณ์”  พร้อมกับการพิทักษ์ธรรมชาติของโลกด้วยความยุติธรรมต่อคนยากจนและคนที่เสียงต่อการได้รับอันตรายมากที่สุดด้วย พระองค์ตรัสว่าในสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่ทัศนคติ ความคิด สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้า เรากับเพื่อนมนุษย์ และเรากับธรรมชาติ   เพื่อให้ชีวิตกลับคืนสู่ความสมดุลย์และมีความกลมกลืนอีกครั้ง การกลับตัวกลับใจใหม่ในท่าทีที่ถูกต้องเท่านั้น เราจึงจะสามารถจัดการกับการคุกคามที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ในทุกวันนี้  พระองค์ยืนยันว่าแม้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือดีที่มีอยู่ซึ่งทำให้เราสามารถได้ยินเสียงเรียกร้องของผืนโลก แต่ว่าการเสวนาและการศึกษาก็เป็นกุญแจสำคัญสองดอกที่สามารถ “ช่วยเราให้รอดพ้นจากการทำลายตนเองซึ่งปัจจุบันกำลังโถมกระหน่ำเราอยู่”

    สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสไตร่ตรองและตั้งคำถามที่ท้าทายมาก ในสภาวะที่ภูมิอากาศของโลกผันแปรแบบเฉียบพลัน และระบบนิเวศผกผลัน พระองค์จึงตั้งประเด็นว่า “โลกชนิดไหนกันที่พวกเราจะส่งมอบต่อให้กับผู้ที่จะตามมาภายหลัง ต่อลูกหลานที่กำลังเจริญเติบโต?”
    คำตอบที่พระองค์เสนอนั้นเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังในระบบการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม รวมถึงวิถีชิวิตของเราแต่ละคนด้วย  ในสมณสาส์น “ขอคำสรรเสริญจงมีแด่พระองค์” (LAUDATO SIi) จึงมีเนื้อหาสาระดังนี้
    วิเคราะห์ บทที่ 1 การท้าทายที่สำคัญที่สุดที่กำลังเผชิญกับ “บ้านส่วนรวมของเราคือผืนแผ่นดินโลกนี้”
    อากาศเป็นพิษ ขยะ และ ความมักง่ายชอบทิ้งขว้าง:  “โลกซึ่งเป็นบ้านส่วนของพวกเราดูเหมือนกำลังกลายเป็นกองขยะส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไปทั่ว”
    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ:  “เราทราบว่ามีสิ่งหนึ่งที่กำลังท้าทายมนุษย์ทุกวันนี้ แต่หลายคนที่มีอำนาจทางทรัพยากร เศรษฐกิจ และการเมืองดูเหมือนมัวแต่สาละวนอยู่แต่เล่นลิ้นกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงหรือปิดบังปัญหาดังกล่าว”
    น้ำ:  “การมีน้ำสะอาดที่สามารถดื่มได้เป็นสิทธิสากลพื้นฐานของมนุษย์” แต่ประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะเด็กต้องเจ็บไข้ได้ป่วยและเสียชีวิตลงเพราะดื่มน้ำที่มีเชื้อโรค”
    ความหลากหลายของชีวิตสัตว์และพืช:  “แต่ละปีเราจะเห็นการสูญพันธุ์ของสัตว์และพืชนับพันชนิด” เราไม่อาจเดาถึงผลร้ายที่จะตามมา เพราะ “เราทุกคนที่เป็นสัตว์มีชีวิตต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน”   บ่อยครั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจข้ามชาติเป็นอุปสรรคต่อการปกป้องคุ้มกัน
    การล่มสลายของการจัดระบบสังคม:  รูปแบบปัจจุบันของการพัฒนาสังคม ส่งผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่ และ “หลายเมืองใหญ่ๆ ขาดโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งใช้พลังไฟฟ้าและน้ำมากเกินความจำเป็น”
    ความไม่เท่าเทียมในโลก:  ปัญหาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อคนที่ตกอยู่กับความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายรวมถึงมนุษย์ส่วนใหญ่ของโลก  การแก้ไขไม่ได้อยู่ที่การลดอัตราการเกิด  แต่ต้องแก้ที่การบริโภคสุดโต่ง

วิเคราะห์ บทที่ 3 พูดถึงรากเหง้าของปัญหาที่เป็นสาเหตุแห่งวิกฤตที่กำลังทวีเพิ่มขึ้นทุกๆวัน ซึ่งมาจาก
    เทคโนโลยี:  ยุคแห่งเทคโนโลยี่นำเอาความเจริญก้าวหน้ามาสู่การพัฒนาที่ค่อนข้างยั่งยืน แต่ละเลยไม่คำนึงถึงหลัก “จริยธรรม”  ความก้าวหน้า “ให้ความรอบรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจแก่คนบางคน หรือคนกลุ่มน้อยเท่านั้นซึ่งทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นเจ้านายของมวลมนุษย์
    สภาวะจิตที่หมกมุ่นหลงไหลในเทคโนโลยี:  “เศรษฐกิจรับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีทุกอย่างโดยเล็งผลกำไรเป็นที่ตั้ง  แต่ในตัวมันเองนั้นการตลาดไม่สามารถรับรองถึงการพัฒนามนุษย์และสังคมแบบองค์รวมได้
    มนุษย์คือศูนย์กลางของชีวภาพ:  ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและการล่มสลายของสังคมเป็นผลของการที่มอง “ทุกสิ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่งดงามนอกจากว่ามันนำมาซึ่งผลประโยชน์สำหรับตนเอง”
    แรงงาน:  ระบบนิเวศที่สมบูรณ์จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณค่าของแรงงานเพื่อทุกคนสามารถที่จะมีงานทำ  นี่เป็นการทำธุรกิจเลวร้ายต่อสังคมที่ไม่ยอมลงทุนกับคนเพื่อที่จะทำกำไรในระยะสั้น
    เทคโนโลยีด้านชีววิทยา:  “Genetically modified organism (GMO)” เป็นประเด็นที่สลับซับซ้อนเกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  ซึ่งช่วยแก้บางปัญหาได้ก็จริง แต่ว่ามันก็นำเอาปัญหามาด้วยเช่นกัน เช่น ที่ดินตกอยู่ในกำมือของเจ้าของเพียงไม่กี่คน ตัดแข้งตัดขาของเกษตรกรรายย่อย ทำลายระบบชีวภาพและระบบนิเวศ

    ดังนั้นการแก้ปัญหาระบบนิเวศจะอยู่ตรงไหน? ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวไว้ข้างบนและน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

    คำสอนจากบทที่ 2 พระวาจาพระเจ้าเรื่องการสร้างสรรพสิ่ง: 
สำรวจพระคัมภีร์ทั้งพระธรรมเก่าและพระธรรมใหม่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าชีวิตมนุษย์นั้นมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า กับเพื่อนมนุษย์ และกับโลกที่ถูกสร้างขึ้น  เราต้องยอมรับความบาปของเรา  เมื่อเราทำลายความสัมพันธ์ดังกล่าวและต้องตระหนักถึง “ความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่” ที่เราต้องมีต่อสิ่งสร้างของพระเจ้า

    ข้อเสนอจากบทที่ 4 การจัดระบบนิเวศที่บริบูรณ์: 
เราจำเป็นต้องค้นหาความจริงใหม่แห่งความยุติธรรมซึ่งหมายความว่า “การวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่อาจที่จะแยกออกจากการวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวกับมนุษย์ ครอบครัว การงาน เศรษฐกิจ และการเมือง” ในขณะเดียวกันการแก้ปัญหาต้องมีพื้นฐานบน “การเลือกเข้าข้างเพื่อนร่วมโลกพี่น้องชาย-หญิง ของเราที่ยากจนที่สุด”

    ข้อเสนอ จากบทที่ 5  การเสวนา: 
วิธีเข้าถึงปัญหาและการลงมือปฏิบัติ  เน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี “การอภิปรายที่มีใจเปิดกว้างและซื่อสัตย์ เพื่อที่ผลประโยชน์พิเศษของบางคนหรือบางกลุ่มหรืออุดมการณ์บางอย่างจะไม่ไปขัดกับความดีส่วนรวม”  พระศาสนจักรไม่ประสงค์ที่จะไปจัดการระบบเรื่องวิทยาศาสตร์หรือเปลี่ยนแปลงนโนบายใดๆ แต่พระศาสนจักรสามารถส่งเสริมการเสวนาเกี่ยวกับการบริหารจัดการในระดับโลกและระดับท้องถิ่น  เพื่อการตัดสินใจที่โปร่งใส  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งพร้อมที่จะเสวนาด้วยความเคารพกับผู้ที่มีความเชื่อแตกต่างกันและกับโลกวิทยาศาสตร์

ข้อเสนอจากบทที่ 6 การศึกษา   การเปลี่ยนใจใหม่  การมุ่งชีวิตฝ่ายจิต: 
การศึกษา   พระสันตะปาปาขอร้องให้โรงเรียน ครอบครัว สื่อ และพระศาสนจักรทุกส่วนให้ช่วยกันหล่อหลอมนิสัยและพฤติกรรม  การเอาชนะการเห็นแก่ตัวขณะที่เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและรู้จักประมาณในการบริโภค ซึ่งจะสามารถ “กดดันผู้มีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม” ให้เกิดการเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญในสังคมได้ 
การเปลี่ยนแปลงหัวใจใหม่เกี่ยวกับระบบนิเวศ:  นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีในฐานะที่เป็นต้นแบบของ “ความห่วงใยอย่างจริงจังในการปกป้องพิทักษ์โลก” ซึ่งท่านแสดงให้ปรากฏในรูปแบบของความกตัญญูต่อพระเจ้าในสิ่งสร้างบนผืนแผ่นดินโลก  การมีใจกว้าง ความคิดสร้างสรรค์ และการที่มีใจกระตือรือร้น
ชีวิตฝ่ายจิต:  สมณสาส์นจบด้วยภาวนาสองบทเป็นการแสดงถึงความเชื่อในพระเจ้านั้นสามารถหล่อหลอมและเป็นแรงบันดาลใจให้เราปกป้องธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ พระตรีเอกภาพ แบบฉบับของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ และความหวังของเราที่จะได้รับชีวิตนิรันดรสามารถสอน กระตุ้น และเพิ่มความเข้มแข็งไห้เราสามารถปกป้องพิทักษ์ธรรมชาติโลกที่พระเจ้าทรงประทานให้กับเรา 

(นำเสนอโดย วิษณุ  ธัญญอนันต์)
สรุปจากเนื้อข่าวสารของวิทยุวาติกัน

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
3233
15633
72230
281763
306218
36025485
Your IP: 18.191.140.76
2024-04-26 05:49

สถานะการเยี่ยมชม

มี 213 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์