วิธีสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ
 15 สิงหาคม

วันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี  เป็นวันที่ชาวคาทอลิกเรียกว่า วันที่พระนางหลับไป Dormition (falling asleep) มาเป็นเวลานานแล้ว
           พร้อมกับการสมโภชพระนางมารียผู้ปฏิสนธินิรมล (8 ธันวาคม ). เรามีวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณและเป็นวันฉลองบังคับ ซึ่งเป็นการฉลองที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งมากของพระศาสนจักร
       พระศาสนจักรฉลองความรุ่งโรจน์ที่สุด ประดุจ "เทศกาลเก็บเกี่ยว"ทีเดียว. เพราะในวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย— พระนางมารีย์เป็นสตรีที่ได้รับพระพรสูงสุดในบรรดาสตรีทั้งหลาย
      พระนางทรงบังเกิดผลอย่างดี ที่ทรงค่าแบบสุกหง่อมในทุ่งนาแห่งพระอาณาจักรของพระเจ้า บัดนี้ พระนางรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์

      ความคิดเกี่ยวกับพระนางมารีย์ที่รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ มีว่า หลังจากการสิ้นใจของพระนาง ซึ่งเป็นการเรื่องที่กล่าวขานเป็นครั้งแรกในคริสตศตวรรษที่ 5 และคริสตศตวรรษที่ 6. แม้ว่า ความคิดเหล่านี้ไม่เคยเป็นยอมรับอย่างเป็นทางการก็ตาม. แต่ก็เป็นคำพยานถึงความเชื่อเริ่มแรกมากในคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก  (คำสอนที่สำคัญต่อข้อความเชื่อคาทอลิก) จนถึง 50 ปีที่ผ่านมา
         แม้ว่า มีความเชื่อทั่วไปมานานกว่าพันปีที่พระคัมภีร์ไม่ได้กล่าวถึงพระนางมารีย์ที่รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ. นักเขียนในพระศาสนจักรเริ่มแรก ได้กล่าวถึงตัวตนของพระนางมารีย์ที่รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณโดยพระเจ้า คือ
นักบุญเกรกอรีแห่งตูร์ (594).
       บทเทศน์สมัยแรกๆเกี่ยวกับการสมโภชการที่พระนางที่รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ คือ Ps. – โมเดสนุสแห่งเยรูซาเล็ม(Modestus ) (ca. 700)
        เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1946 พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ตรัสถามพระสังฆราชทั่วโลกว่า ข้อความเชื่อเกี่ยวกับวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ปรารถนาให้มีคำนิยาม และเสนอให้เป็นข้อความเชื่อได้หรือไม่ ปรากฎว่าผู้ได้รับศีลบวชและประชาชนรวมทั้งบรรดาพระสังฆราชตอบรับข้อเสนอนี้
      เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1950, วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย. พระสันตะปาปาปาปีโอที่ 12 จึงทรงประกาศว่า การที่พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณเป็นข้อความเชื่อ
       ดังนี้ “พระนางมารีย์ ผู้ปฏิสนธินิรมลตลอดกาล ทรงเป็นพระมารดาพรหมจารีของพระเยซูเจ้า ,หลังจากที่พระนางเสร็จสิ้นภารกิจในโลกนี้ ก็เป็นที่เชื่อว่า กายและวิญญาณของพระนางเข้าสู่พระสิริรุ่งโรจน์แห่งสวรรค์
         เราไม่ทราบอย่างแท้จริงเกี่ยวกับวัน,ปีและรายละเอียดเกี่ยวกับการสิ้นใจของพระนางมารีย์. วันสิ้นใจของพระนางอยู่ระหว่าง 3-15 ปีหลังวันที่พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์. ทั้งกรุงเยรูซาเล็มและเอเฟซัสอ้างว่าเป็นสถานที่ที่พระนางสิ้นชีวิต (ตามธรรมประเพณีแล้ว พระนางมารีย์เคยอาศัยอยู่ที่เมืองเอเฟซัสหลังจากที่พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์).  พบอุโมงค์เก็บศพของพระนางอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม. เชื่อกันว่า พระนางมารีย์สิ้นชีวิตในขณะที่อยู่กับอัครสาวก. แต่หลังจากฝังศพของพระนาง ต่อมาอุโมงค์เก็บศพของพระนางเปิดออก และว่างเปล่า.  ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ร่างกายของพระนางได้รับเกียรติสู่สวรรค์
         นักบุญเกรกอรี่แห่งตูร์ให้เหตุผลสำหรับธรรมประเพณีนี้,
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่พระนางได้รับการสงวนจากบาปกำเนิด. ท่านกล่าวว่า น่าจะคิดว่า ร่างกายปราศจากบาปนี้ ซึ่งเหมือนหีบพันธสัญญาที่ทำด้วยไม้ที่ไม่เปื่อยเน่า, จะสลายในหลุมฝังศพได้).  ข้อความที่ว่า , 'โปรดทรงลุกขึ้นเสด็จไปยัง...หีบพันธสัญญาแห่งพระอานุภาพของพระองค์” (สดด. 132.8) ก็เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ให้พระเยซูคริสตเจ้าเสด็จสู่สวรรค์, ดังนั้น พระนางมารีย์ด้วยที่จะได้รับไปสู่สวรรค์
          แน่นอน มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างพระเยซูคริสตเจ้าเสด็จสู่สวรรค์หลังจากที่พระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพกับการที่พระนางมารีย์ได้รับสู่สวรรค์. นั่นคือ พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ด้วยพระพลานุภาพของพระองค์ ขณะที่พระนางไปสู่สวรรค์อาศัยพระเจ้า.
         พระเยซูเจ้าซึ่งทรงเป็นพระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพ,ไม่ต้องมีผู้ใดมาช่วยเลย ขณะที่พระนางมารีย์ไม่มีอำนาจนี้. (ครั้งหนึ่ง คุณพ่อเจ้าวัดท่านหนึ่งแสดงความแตกต่างนี้ด้วยวิธีพิเศษสุด. ท่านขอให้เด็ก 2 คนมาอยู่ด้านหน้า. ท่านบอกเด็กคนหนึ่งให้เดินจากด้านหนึ่งของบริเวณพระแท่นไปอีกด้านหนึ่ง และท่านอุ้มเด็กอีกคนหนึ่งข้ามบริเวณพระแท่น)

 ข้อควรปฏิบัติในวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ
            ในประเทศที่มีคริสตชน นิกายโรมันคาทอลิก เฉลิมฉลองวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ให้เป็นวันฉลองประจำปี
            ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16  ภาพวาดของพระนางมารีย์ปรากฎเป็น “เครื่องหมายยิ่งใหญ่ปรากฎในสวรรค์ คือสตรีผู้หนึ่ง มีดวงอาทิตย์เป็นอาภรณ์ มีดวงจันทร์อยู่ใต้เท้า มีมงกุฎดาวสิบสองดวงประดับศีรษะ” (วว.12.1) รับรองด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนต่อการแสดงออกของพระหรรษทาน ทำให้พระนางได้ชื่อว่า “พระมารดาของพระเจ้า

             หัวเรื่องเกี่ยวกับการที่พระนางพรหมจารีมารีย์ได้รับสวมมงกุฎเป็นพระราชินีสวรรค์ เกี่ยวข้องกับตัวตนของพระนางในสวรรค์ว่าเป็นราชินีแห่งสวรรค์ ถัดจากพระบุตรของพระเจ้า
             พระนาม"พระมารดาแห่งพระเจ้า" (คำกรีก คือ Theotokos) หมายถึงพระนางมารีย์ในสภาสังคายนาแห่งเอเฟซัส ในปี ค.ศ. 431. (ครั้งหนึ่ง พระสังฆราชนิกายแองกลิกันท่านหนึ่งโต้คำคัดค้านของพวกโปรเตสแตนต์ต่อชื่อนี้สำหรับพระนางมารีย์ว่า "ถ้าพระนางไม่เป็นพระมารดาของพระเจ้า ใครเล่าจะเป็นมารดาเล่า? ")

            สัตบุรุษซึ่งเป็นบรรดาบุตรธิดาของพระนางมารีย์ชื่นชอบการสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ. เพราะเป็นเครื่องหมายสำหรับเราว่า วันหนึ่ง อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้าและความพยายามของเรา, เราด้วยที่ร่วมกับพระมารดาผู้เปี่ยมด้วยพระพร ในการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า.
           วันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณเป็นแหล่งที่มาของความหวังที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราด้วย เพราะชี้แสดงถึงเส้นทางสำหรับศิษย์ทุกคนของพระคริสตเจ้า ที่พระนางทรงเลียนแบบความซื่อสัตย์และความนบนอบต่อพระประสงค์ของพระเจ้า.ขณะที่พระนางประทับอยู่ตอนนี้ ในที่สุด เราก็หวังจะเป็นเช่นนั้นอาศัยพระหรรษทานด้วย.
         ตัวตนของพระนางมารีย์ที่ไปสู่สวรรค์หลังชีวิตบนโลกของพระนางจบสิ้นลงคือ ผลลัพธ์ตามตรรกะของลักษณะที่ “ปราศจากมลทิน” ของพระนาง-ได้รับการปกป้องอย่างพิเศษสุด— จากบาปส่วนบุคคล----อาศัยพระหรรษทานด้วย.
       เราพยายามที่จะเลียนแบบพระนางด้วยความรักที่เสียสละตนเอง, ความเชื่อที่ไม่สิ้นสุด,ความนบนอบเชื่อฟังที่สมบูรณ์แบบของพระนาง “เธอเป็นสุขที่เชื่อว่า พระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง” (ลก.1.45)
    สำหรับคริสชน ความตายไม่ทำให้เราสูญหาย ถึงแม้ว่า เราจะไม่เหมือนพระนางมารีย์ก็ตาม คนที่ตายได้แม้เป็นนักบุญ ต้องรอรับเสด็จพระเยซูคริสตเจ้าที่จะเสด็จมาครั้งที่สอง และการกลับคืนชีพทั่วไป ก็จะได้รับ "กายที่รุ่งโรจน์” ด้วย “ขอให้เราเห็นว่า สวรรค์เป็นเป้าหมายของเราและเราจะไปร่วมพระสิริของพระนาง”

กิจกรรมเสนอแนะสำหรับการสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณใน “พระศาสนจักรท้องถิ่น”
1.แต่ละครอบครัวแขวนภาพ พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ที่ฝาตู้เย็น เพื่อช่วยสอนเด็กๆเกี่ยวกับ “บทวันทามารีย์”
2. การที่พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เป็นรูปแบบเดียวกับพระบุตรของพระนางที่ชนะบาปและความตาย”  คริสตชนด้วยที่จะมีส่วนร่วมกับการกลับคืนพระชนมชีพของพระบุตร และกำลังรอคอยด้วยความหวังที่จะกลับคืนชีพเช่นกัน
3.วันก่อนวันสมโภชซึ่งตรงกับวันที่ 14 สิงหาคม ก่อนนอน  พ่อแม่และครอบครัววางดอกไม้ที่รูปปั้นของพระนางมารีย์ในบ้าน และโดยที่พ่อแม่บอกความหมายของวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ อ่านข้อความเชื่อนี้ดังๆว่า
     “ในที่สุด พระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ที่ปราศจากบาปกำเนิด เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจในโลกนี้แล้ว พระนางได้รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เพื่อเข้าสู่พระสิริของสวรรค์ และพระบุตรได้ประทานเกียรติให้พระนางเป็นราชินีเหนือทุกสิ่ง ดังนั้น พระนางเหมือนพระบุตรอย่างเต็มที่ ที่พระองค์ทรงชนะบาปและความตาย”
4.หลังพิธีมิสซาขอบพระคุณวันที่ 15 สิงหาคม ให้สัตบุรุษนำดอกไม้ไปวางที่บุษบกหรือพระรูปของพระนางที่รับเกียรติสู่สวรรค์ในวัด
5.เด็กๆถือเทียนที่จุดสว่างและคุกเข่าสวด “บทวันทามารีย์ หน้าพระรูปของพระนางมารีย์รับเกียรติสู่สวรรค์ในวัดหรือที่บ้าน
6.หลังพิธีมิสซาฯหรือช่วงสอนคำสอน ผู้ใหญ่พูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับความหมายวันสมโภช ว่าเหตุใดคาทอลิกให้ความสำคัญกับวันนี้ เป็นโอกาสที่ดีที่จะกล่าวถึงความเป็นมารดา ความตายและสวรรค์ และตอบปัญหาของพวกเขาด้วย
7.สวดสายประคำภาคสิริรุ่งโรจน์กับครอบครัว หลังรับประทานอาหารเย็น ก่อนเด็กทำการบ้าน ดูสื่อต่างๆ หรือสวดสายประคำเช่นนี้ในรถขณะเดินทางกลับบ้านก็ได้
8.พูดกับลูกๆเกี่ยวกับความเป็นแม่(แม้กระทั่ง ตั้งแต่ความเป็นย่า/ยาย) บทบาท หน้าที่และความสุขของแม่ บางที ทำให้ลูกๆเข้าใจถึงชีวิตประจำวันของพระนางมารีย์ เช่น “จิตใจของข้าพเจ้าชื่นชมยินดีในพระเจ้า” (ลก.1.46) ขณะที่ประสบความยากลำบากในชีวิต (The Assumption (detail) by Lorenzo Lotto (ca. 1512). Milan, Pinacoteca di Brera)

บทเทศน์ของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
 “สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ช่วยในการเดินทางฝ่ายจิตวิญญาณของเราอย่างไร”
    1.คำตอบแรก
     ในวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณนั้น แสดงให้เราเห็นว่า ในพระเจ้า มีที่ว่างสำหรับมนุษย์ พระเยซูเจ้าเองตรัสว่ามีที่ว่างมากมายในสวรรค์(เทียบ ยน 14.2) พระเจ้าทรงเป็นที่พักพิงของมนุษย์ ในพระเจ้าจึงมีที่ว่าง. และพระนางมารีย์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าก็มีที่ว่างในสวรรค์
        พระนางไม่ได้ไปสู่กาแลกซี่ที่ไม่เรารู้จัก แต่ใครก็ตามใกล้ชิดกับพระเจ้า ก็จะใกล้ชิดมากขึ้นอีก เพราะพระเจ้าทรงใกล้ชิดกับเราทุกคน และพระนางมารีย์ ซึ่งถูกรวมเป็นหนึ่งกับพระเจ้า ได้แบ่งปันการประทับอยู่ของพระเจ้า จึงใกล้ชิดกับเราแต่ละคนด้วย

             มีข้อความที่ไพเราะจากนักบุญเกรกอรี่ผู้ยิ่งใหญ่ ที่กล่าวเกี่ยวกับนักบุญเบเนดิกต์ ที่เราสามารถนำไปใช้กับพระนางมารีย์ด้วย
            นักบุญเกรกอรี่ผู้ยิ่งใหญ่อธิบายว่าหัวใจของนักบุญเบเนดิกต์ขยายมากกว่าสรรพสิ่งสร้างที่สามารถเข้าไปอยู่ได้. เป็นจริงยิ่งกว่าอีกสำหรับพระนางมารีย์ เพราะพระนางใกล้ชิดกับพระเจ้า จึงมีดวงใจที่ใหญ่มากจนกระทั่งสรรพสิ่งสร้างสามารถเข้าไปอยู่ได้ พระนางมารีย์ใกล้ชิดกับเราแต่ละคน. ในพระเจ้า มีที่อยู่สำหรับมนุษย์และพระนางมารีย์ที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เราจึงใกล้ชิดกับพระเจ้าได้ พระนางจึงมีดวงใจใหญ่เท่าดวงพระทัยของพระเจ้า.
             คำตอบที่สอง ในพระเจ้ามิใช่มีที่ว่างสำหรับมนุษย์เท่านั้น แต่ในมนุษย์ก็มีที่ว่างสำหรับพระเจ้าด้วย.
       แง่คิดนี้เช่นกัน เราเห็นในกรณีของพระนางมารีย์ ซึ่งเป็นหีบพันธสัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ที่แบกรับการประทับอยู่ของพระเจ้า. ในเราก็มีที่ว่างสำหรับพระเจ้าและพระเจ้ามาประทับในตัวเรา สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับนำแสงสว่างไปสู่โลกด้วย ซึ่งมีทั้งความทุกข์ระทมและปัญหามากมาย.
         เราตระหนักด้วยความเชื่อถึงการประทับอยู่ของพระเจ้า. ในความเชื่อ เราเปิดประตูการมีอยู่ของเรา เพื่อว่า พระเจ้าจะเข้าในเรา เพื่อว่า พระเจ้าสามารถเป็นพลังที่ประทานชีวิตและเป็นเส้นทางไปสู่ความมีอยู่ของเรา.
        ในเรา มีที่ว่าง ให้เราเปิดตัวเราเองเช่นเดียวกับพระนางมารีย์ที่เปิดตัวพระนางและกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลก. 1.38)