การใช้กำลังทางทหารเมื่อใดจึงถูกต้องตามหลักศีลธรรม (2307-2310)
การใช้กำลังทหารได้อย่างถูกต้องตามความชอบธรรมทางศีลธรรมเมื่อมีเงื่อนไขต่อไปนี้คือ
-  มั่นใจว่าจะเกิดความทุกข์อันตรายร้ายแรงและเป็นที่แน่นอนโดยผู้บุกรุก
-  พยายามใช้วิถีทางอื่นๆ เพื่อให้เกิดสันติแต่ไร้ผล
-  ต้องมีการคาดการณ์จริงจังว่าจะสำเร็จ
-  การใช้อาวุธโดยเฉพาะอานุภาพของเครื่องมือในการทำลายล้างที่ทันสมัยนั้น ต้องไม่ก่อให้เกิดความเลวร้ายที่หนักกว่าความเลวร้ายที่จะกำจัดออกไป

เมื่อตกอยู่ในอันตรายของสงคราม ผู้ใดมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการประเมินเงื่อนไขแห่งความชอบธรรมนี้ (2309)
ความรับผิดชอบนี้เป็นการตัดสินใจที่รอบคอบของอำนาจฝ่ายบ้านเมือง ซึ่งมีสิทธิที่จะกำหนดออกข้อบังคับที่จำเป็นต่อการป้องกันประเทศชาติแก่พลเมือง การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนี้ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขัดกับมโนธรรมอันเป็นสิทธิส่วนตัว  ซึ่งเขาต้องรับใช้สังคมในรูปแบบอื่น

กฎศีลธรรมเรียกร้องอะไรในภาวะสงคราม (2312-2314, 2328)
กฎศีลธรรมยังคงใช้ได้เสมอแม้ในภาวะสงคราม เรียกร้องให้มีการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมกับผู้ไม่ได้สู้รบ ทหารที่บาดเจ็บและเชลยสงคราม  กิจการต่างๆ ที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างชาติและการออกคำสั่งลักษณะเช่นนี้ถือเป็นอาชญากรรม  ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะแก้ตัวไม่ได้ว่าต้องเชื่อฟังอย่างตาบอด     จะต้องประณามการทำลายล้างประชาชนกลุ่มหนึ่ง หรือชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบาปหนัก กฎศีลธรรมบังคับให้เราต่อต้านคำสั่งของผู้ออกคำสั่งเช่นนั้น